สถานการณ์การรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วัลลภา คงฉันท์มิตรกุล โรงพยาบาลโนนสูง
  • ทัศนีย์ กาวกระโทก โรงพยาบาลโชคชัย

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, ตัวชี้วัดสาขาไต, การบริบาลทางเภสัชกรรม, การใช้ยาสมเหตุผล

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในสังกัดโรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 33 แห่ง ในเชิงกระบวนการดูแลรักษาและผลลัพธ์การให้บริการตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขระดับจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ย้อนหลัง 2 ปี ตั้งแต่ปี 2562 – 2563 ในประเด็นเป้าหมายผลงานตามตัวชี้วัดสาขาไต (1) การควบคุมโรคปัจจัยเสี่ยง (2) การได้รับยาที่เหมาะสมเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และการใช้ยาที่มีผลกระทบต่อไต และ(3)การติดตามภาวะแทรกซ้อนของโรคไตเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัย พบว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังไม่สามารถควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้บรรลุตามเป้าหมายได้ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับยา RAAS blockade เพื่อชะลอการเสื่อมของไต และมีแนวโน้มการสั่งใช้ยากลุ่มดังกล่าวร่วมกันลดลง พบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้รับยา statins มากกว่าร้อยละ 60  สำหรับการใช้ยา NSAIDs พบปัญหาน้อยมากส่วนใหญ่บรรลุตามเป้าหมาย นอกจากนี้ยังพบแนวโน้มการสั่งใช้ยา metforminในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 4 ขึ้นไปลดลง การติดตามภาวะแทรกซ้อนส่วนใหญ่ไม่บรรลุตามเป้าหมายและไม่พบการรายงานข้อมูล ในปี 2563 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3-4 ที่มีค่าอัตราการกรองของไต<5 ml/min/1.73m2ต่อปีพบร้อยละ 66.93 และมีแนวโน้มโรงพยาบาลที่บรรลุตามเป้าหมายเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระยะของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่คงที่ร้อยละ 74.44 และ 75.96 ตามลำดับ การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรสอดคล้องกับแนวทางมาตรฐานและตอบสนองต่อตัวชี้วัดฯ เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เหมาะสม ปลอดภัย รวมทั้งมีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การบริบาลทางเภสัชกรรมมีบทบาทสำคัญในการช่วยค้นหาและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาที่มีผลกระทบต่อการทำงานของไต เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกระยะ

References

Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2009; 25(5): 1567 – 75.

คณะอนุกรรมการการลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ. 2559 – 2562. กรุงเทพฯ; 2562.

ธิดารัตน์ อภิญญา. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดําเนินงานลดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

Tonghong A, Thapsitha K, Jongpiriya A. Chronic Diseases Surveillance Report, 2012. Bureau of epidemiology, Thailand. 2012; 129(88): 1 – 113.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2558.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan ) สาชาไต. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.

ประภารัตน์ ประยูรพรหม จุฑารัตน์ บางแสน สมควร พิรุณทอง และคณะ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารกองการพยาบาล 2559; 43(1): 12 – 33.

เสาวลักษณ์ ชาวโพนทอง. ผลการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพในคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2558; 5(3): 197 – 206.

วันทนี อภิชนาพงศ์. บทความรายงานผู้ป่วย (case report) กรณีศึกษา metformin-associated lactic acidosis. สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) 2563; 30(1): 26 – 33.

Go AS, Chertow GM, Fan D et al. Chronic kidney disease and the risks of death, cardiovascular events, and hospitalization. N Engl J Med 2004; 351(13): 1296 – 305.

บุญรักษ์ ฉัตรรัตนกุลชัย. การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่บ้านโดยเภสัชกรครอบครัวเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2562; 16(3): 87 – 95.

National Kidney Foundation.KDIGO 2012 Clinical practice guideline for the evaluation and management of chronic kidney disease. Kidney International Supplements 2012; 3(1): 1–150.

Al-Aly Z, Zeringue A, Fu J, et al. Rate of kidney function decline associates with mortality. J Am Soc Nephro 2010; 21(11): 1961 – 9.

Rifkin DE, Shlipak MG, Katz R, et al. Rapid kidney function decline and mortality risk in older adults. Archives of internal medicine 2008; 168 (20): 2212 – 8.

จันทร์เพ็ญ ประโยงค์ กชกร พุธา และวินัย กล่อมแก้ว. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไตเรื้อรังในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(6): 1035 – 43.

วสันต์ พนธารา. ผลการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ในคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลตากฟ้า. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2563; 17(2): 44 – 51.

Wang SM, Hsiao LC, Ting IW, et al. Multidisciplinary care in patients with chronic kidney disease: A systematic review and meta-analysis. European journal of internal medicine 2015; 26(8): 640 – 5.

Jiamjariyaporn T, Ingsathit A, Tungsanga K, et al. Effectiveness of integrated care on delaying chronic kidney disease progression in rural communities of Thailand (ESCORT study): a cluster randomized controlled trial. BMC Nephrology 2017; 18(1): 1 – 10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02