ปัญหาสุขภาพและความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ปัญหาสุขภาพผู้ต้องขัง, ความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขัง, สุขภาพในเรือนจำบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจ (survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพและความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังและการให้บริการด้านสุขภาพของเจ้าหน้าที่ในทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดขอนแก่นกลุ่มประชากรประกอบด้วย ผู้ต้องขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดขอนแก่นจำนวน 1,083 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างแบบทราบจำนวนประชากรได้จำนวน 249 คนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ผู้ต้องขังเป็นชายมีระยะเวลาต้องขังไม่เกิน 10 ปีอยู่กันอย่างแออัดซึ่งตามมาตรฐานของทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่นรองรับผู้ต้องขังได้เพียง 385 คนแต่มีผู้ต้องขังถึง 1,083 คนคิดเป็นประมาณ 3 เท่าของมาตรฐาน ก่อนเข้ามาอยู่ในทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่นพบมีโรคเรื้อรังร้อยละ 4.81 ส่วนใหญ่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด และหลังจากเข้ามาอยู่ในทัณฑสถานป่วยเพิ่มอีกร้อยละ 6.83 ในจำนวนนี้มีวัณโรค ร้อยละ 0.40 ส่วนการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ที่พบขณะที่ถูกคุมขังร้อยละ 53.01 ของผู้ต้องขังทั้งหมด เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจร้อยละ 81.06 รองลงมาเป็นการเจ็บป่วยระบบกล้ามเนื้อและข้อร้อยละ 43.94 โรคผิวหนังร้อยละ 41.67 อาการปวดศีรษะอันเนื่องมาจากความเครียดร้อยละ 32.58 ความต้องการในการดูแลสุขภาพด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านการป้องกันโรค ด้านการตรวจรักษาโรค มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.38 - 3.60 ระดับมาก การอบรมความรู้การรักษาพยาบาล การปฐมพยาบาลเบื้องต้นคะแนนเฉลี่ย 3.15 ระดับปานกลาง การมีห้องแยกสำหรับผู้ป่วยโรคติดต่อคะแนนเฉลี่ย3.76 ระดับมาก เรื่องยาและเวชภัณฑ์คะแนนเฉลี่ย3.74 ระดับมาก มีพยาบาลวิชาชีพจำนวน 2 คนให้การดูแลคิดเป็นสัดส่วน 1 ต่อ 542 คน ส่วนผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยมากทางเจ้าหน้าที่ของทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่นจะส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลขอนแก่น
References
กรมราชทัณฑ์. นโยบายเน้นหนัก กรมราชทัณฑ์ ประจาปี พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์; 2550.
กรมราชทัณฑ์. สถิติผู้ต้องขังราชทัณฑ์ รท. 103. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์; 2559.
กองแผนงาน ก. แผนการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์; 2550.
หทัยชนก พรรคเจริญ. เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและวิชาการสถิติแห่งชาติ; 2554.
ยศธร นครพัฒน์ และธานี วรภัทร.มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมสุขภาพของผู้ต้องขังหญิงในประเทศไทยตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต2559; 5: 256 – 66.
ชณิตา สุริอาจ ปรีย์กมล รัชนกุล และวนลดา ทองใบ. การรับรู้ภาวะสุขภาพพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และความต้องการบริการ สุขภาพของผู้ต้องขังที่มีความผิดปกติทางเมตาบอลิก.รามาธิบดีพยาบาลสาร 2557; 20: 372 – 87.
นิตยาภรณ์ สุระสาย, สุภาพร ใจการุณ และเผ่าไทย วงศ์เหลา. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรมเพื่อการพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพของ ผู้ต้องขังหญิง เรือนจากลางนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2559; 9: 301 – 11.
พิมพิไล ทองไพบูลย์ นันทกา สวัสดิพานิช พิไลลักษณ์ โรจนประเสริฐ และคณะ. การจัดบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังหญิงหลังคลอดในเรือนจำ.วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2558; 21: 5 – 17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว