แนวทางการจัดการขยะอันตรายของครัวเรือนตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
แนวทางการจัดการ, ขยะอันตราย, ครัวเรือนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน (mixed methods research) โดยมีวัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการขยะอันตรายของครัวเรือน (2) เพื่อหาแนวทางการจัดการขยะอันตรายของครัวเรือน (3) เพื่อประเมินแนวทางการจัดการขยะอันตรายของครัวเรือน ของตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ตัวแทนครัวเรือนหรือบุคคลในครอบครัวที่มีหน้าที่ในการจัดการขยะอันตรายครัวเรือนละ 1 คน ที่อาศัยอยู่ในตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวนทั้งหมด 2,456 ครัวเรือน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการเปิดตารางของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 333 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 สภาพการจัดการขยะอันตรายของครัวเรือน ตอนที่ 2 แนวทางการจัดการขยะอันตรายของครัวเรือน ตอนที่ 3 การประเมินแนวทางการจัดการขยะอันตรายของครัวเรือน สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการจัดการขยะอันตรายของครัวเรือนมีการคัดแยกขยะอันตราย การเก็บรวบรวมขยะอันตราย การเก็บขนขยะอันตราย และการกำจัดขยะอันตราย ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( = 1.66 , SD = .65) (2) แนวทางการจัดการขยะอันตรายของครัวเรือน ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย แนวทางการจัดการขยะอันตรายระดับครัวเรือน ได้แก่ สมาชิกในครัวเรือนต้องมีความรู้เกี่ยวกับขยะอันตราย การป้องกันขยะอันตราย การปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบร่วมกันของสมาชิกครัวเรือน แนวทางการจัดการขยะอันตรายของชุมชน ได้แก่ ประชาชนต้องมีความรู้เกี่ยวกับขยะอันตราย ผู้นำชุมชนต้องมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการขยะอันตราย การสร้างกฎระเบียบว่าด้วยการจัดการขยะอันตราย และกำหนดพื้นที่ในการเก็บรวบรวมขยะอันตราย (3) ผลการประเมินแนวทางการจัดการขยะอันตรายอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.95 , SD = 0.23)
References
กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทยปี พ.ศ.
[ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 21 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER056/GENERAL/DATA0000/00000689.PDF.
กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทยปี พ.ศ
[ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 21 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://deqp.belib.app/bookdetail/1434#.X8Yar3AzZdh.
ธนิกา เนาวรัชต์. กรมประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 28 ตุลาคม2561]. เข้าถึงได้จาก https://region3.prd.go.th/prchiangrai /allnews.
สุธิดา อุทะพันธ์. การศึกษาการปนเปื้อนของสารพิษในสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะอันตรายจากชุมชน. วารสารควบคุมโรค 2556; 3939(3) : 258 - 65.
โสมศิริ เดชารัตน์. การจัดการของเสียอันตรายและการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 7 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https:// ph02.tcithaijo.org/index.php/tsujournal/ article/download/151838/110906/.
สุรพล วงศ์วัฒนะ.ข้อมูลพื้นฐานตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จากhttps://www.paoordonchai.go.th.
Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd .New York.Harper and Row Publications; 1973.
ขวัญจิต จันทร์นาหว่า และ สุชาดา ภัยหลีกลี้. พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน ตำบลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน 2557; 2(3) : 263 - 71.
ณัฐชนันท์ เชียงพฤกษ์ อดิศักดิ์ สิงห์สีโว และเพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ. สภาพการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนชนบทบ้านโคกม่วง อําเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลําภู. [วิทยานิพนธ์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.
ธวัช ทะเพชร. การจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 2560; 4(1) : 201 – 12.
ประเสริฐ บัวจันอัฐ. แนวทางการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561; 20(2) : 211 – 22.
พิศดาร แสนชาติ โมราชาติ และอนุชา เพียรชนะ. การศึกษาสภาพการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2560; 8 (2) : 259 – 75.
สมชาย เพชรอำไพ และสุทรรศน์สิทธิศักดิ์.รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2563; 16 (2) : 57 – 67.
วิรันดา จันทมี กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ สมหมาย ยอดเพชร และคณะ. แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของแม่บ้านในชุมชนควนขนุน ตำบลทับเที่ยงอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561; 1 (2) : 21 – 40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว