การประเมินผลการดำเนินงานเบื้องต้น โครงการพัฒนาระบบการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ (AMR) ตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ปณต อัศววิวัฒน์พงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ, เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ, ยาปฏิชีวนะ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการดำเนินงานเบื้องต้นของโครงการพัฒนาระบบการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ (AMR) ตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดสุรินทร์ วิธีการศึกษา: ทำการวิจัยแบบ retrospective cohort study ด้วยการดึงข้อมูลโรงพยาบาลศูนย์และทั่วไปจากฐานข้อมูลของกองบริหารการสาธารณสุข ย้อนหลังในช่วงเดือนตุลาคม 2560 – ธันวาคม 2562 ซึ่งประกอบไปด้วยการดำเนินการตามแบบประเมินตนเองครอบคลุมการดำเนินกิจกรรม 5 ด้าน โดยประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานจากคะแนนการประเมินตนเอง จำนวนผู้ป่วยในติดเชื้อจุลชีพในกระแสเลือด อัตราการเกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ และปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะรูปแบบฉีด ของ 2 โรงพยาบาลได้แก่ โรงพยาบาลสุรินทร์และโรงพยาบาลปราสาทในปี 2562 เปรียบเทียบกับปี 2561

ผลการศึกษา การดำเนินการตามโครงการ AMR ส่งผลให้โรงพยาบาลศูนย์และทั่วไปมีการจัดการระดับ ADVANCE มีผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดลดลงจากร้อยละ 4.70 เป็น 4.13 (P<0.001) และมีสัดส่วนการเกิดการติดเชื้อดื้อยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 27.98 เป็น 24.68 (P=0.034) ส่วนปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะแบบฉีดก่อนและหลังการดำเนินงานไม่แตกต่างกันทางสถิติ สรุป: การดำเนินงานโครงการ AMR ตามแบบประเมินตนเอง ช่วยลดจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ลดการเกิดการเชื้อดื้อยา

References

กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 -2564. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://narst.dmsc.moph.go.th/documentation/AMR%20strategy%202560-2564.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. ด่วน!! ขอความร่วมมือโรงพยาบาลระดับ A, S และ M1 ประเมินการดำเนินงานการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ของโรงพยาบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มีนาคม2563]. เข้าถึงได้จาก : http://dmsic. Moph.go.th/index/detail/7661

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. คู่มือการควบคุมและป้องกันแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.

วีรวรรณ ลุวีระ. การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549; 24(5) : 457.

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. การดื้อยาต้านจุลชีพ: ความสำคัญต่อระบบสุขภาพ. เวชบันทึกศิริราช 2554; 4(3) : 96 – 97.

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. รายงานสถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรียกอโรคที่ที่สําคัญของโรงพยาบาลในประเทศไทย พ.ศ. 2554 – 2555. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.

วิษณุ ธรรมลิขิต. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยThailand Antimicrobial Resistance Containment and Prevention Program. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 มีนาคม2563]. เข้าถึงได้จาก: https:// kb.hsri.or.th/dspace/ bitstream/handle/ 11228/ 4700/hs2339.pdf?sequence=3&isAllowed=y

สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักบริหารการสาธารณสุข. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) สาขาการพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Service Plan : Rational Drug Use). 2559. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ สำนักบริหารการสาธารณสุข; 2559.

Peleg AY, Seifert H, Paterson DL. Acinetobacter baumannii:emergence of a successful pathogen. Clin Microbiol Rev 2008; 21: 538 – 82.

Fournier PE, Richet H. The epidemiology and control of Acinetobacter baumannii in health care facilities. Clin Infect Dis 2006; 42 : 692 – 99.

วิรัตน์ ทองรอด. Antimicrobial Resistance (AMR, การดื้อยาของเชื้อโรค). [online]. (2018). [Accessed 5 Mar 2020]. Available from : https://ccpe.Pharmacycouncil.org/ index.php?option =article_detail&subpage=article_detail&id=468

ชุติมาภรณ ไชยสงค์ พิริยา ติยาภักดิ์ สมพิศ ปินะเก และคณะ. ของปริมาณการใช้ยาและการดื้อยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2562; 15(2) : 98 – 104.

Joseph, N., Relationship between Antimicrobial Consumption and the Incidence of Antimicrobial Resistance in Escherichia coli and Klebsiella pneumoniae Isolates. JOURNAL OF CLINICAL AND DIAGNOSTIC RESEARCH; 2015.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-02