การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์โฮมสุขในการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วย Sub – acute ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2563
คำสำคัญ:
ศูนย์โฮมสุข, ผู้พิการ, ผู้สูงอายุ, กลุ่มผู้ป่วย sub – acute, ปัญหาด้านการเคลื่อนไหวบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาศูนย์โฮมสุขในการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วย (sub – acute) ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็น ศูนย์โฮมสุขในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 56 แห่ง ใช้กระบวนการกลุ่มสนทนา และการสัมภาษณ์เจาะลึก ในขั้นตอนการศึกษาและพัฒนารูปแบบในการพัฒนาศูนย์โฮมสุข และกำหนดแบบประเมินผล ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยสถิติ Analysis of covariance (ANCOVA)
ผลการศึกษา ตามการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน พบว่า มีรูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานศูนย์โฮมสุข โดยการกำหนด และประเมินผล (1) องค์ประกอบของมาตรฐานพื้นฐานการจัดตั้งศุนย์โฮมสุข มี 6 หมวด 33 ประเด็น ผลประเมิน พบว่า ส่วนใหญ่ศูนย์โฮมสุขมีองค์ประกอบในระดับดีมาก (2) มีคุณลักษณะสำคัญของศูนย์โฮมสุข ที่เป็นอัตลักษณ์สำคัญเฉพาะ 7 หมวด ประกอบด้วย“H-O-M-E-S-U-K” ผลประเมิน พบว่า ศูนย์โฮมสุขส่วนใหญ่ มีมาตรฐานเกรด A คือ มีศักยภาพในระดับดี (3) มีการประเมินเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของความบกพร่องในการทำงาน / ความลำบากในการทำกิจกรรม ก่อน-หลัง รับบริการ ผลพบว่าหลังรับบริการมีค่าคะแนนเฉลี่ยลดลงและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.001 (4) มีการประเมินความสมดุลของร่างกายพิการ ผู้สูงอายุ และแนวโน้มในการหกล้มได้ตามแบบสอบถาม Berg Balance Scale (BBS) ผลพบว่า ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มมาก และ (5) มีประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการบริการของศูนย์โฮมสุขในภาพรวม ผลอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อผู้ให้บริการ คือ อาสาสมัครศูนย์โฮมสุข อยู่ในระดับมากที่สุด จากการมีรูปแบบในการพัฒนาศูนย์โฮมสุขให้มีคุณภาพมีมาตรฐาน และมีการประเมินผลการดำเนินงานที่สามารถสะท้อนประสิทธิภาพ สามารถสร้างความเชื่อถือ ทั้งทางด้านบริการ ด้านวิชาการ
References
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. การดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. กาฬสินธุ์ : โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เอกสารอัดสำเนา; 2558.
ทวี เชื้อสุวรรณ และคณะ รูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการที่เหมาะสม กับชุมชนพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. นครปฐม : วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.
World Health Organization. CBR: a strategy for rehabilitation, equalization of opportunities, poverty reduction and social inclusion of people with disabilities. Geneva; 2004.
สายฤดี วรกิจโภคาทร และคณะ. สวัสดิการสังคมสําหรับผู้สูงอายุในการปรับแนวคิดร่วมชีวิตผู้สูงวัย : การทบทวน แนวคิดและองค์ความรู้เบื้องต้นเพื่อพัฒนา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว.ในการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องระบบการดูแลและ กำลังคนในการดูแลผู้สูงอายุ .กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2551.
รัชนี สรรเสริญ และคณะ. การบูรณาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในสถานบริการปฐมภูมิ: บทเรียนรู้จากประเทศไทย. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2553; 3(2) : 99 – 113.
มนตรี จันทา สุมัทนา กลางคาร และจุฬารัตน์ห้าวหาญ. รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวแบบมีส่วนร่วมตำบลหนองบัว อำเภอศิขรภูมิจังหวัดสุรินทร์. วารสารสุขภาพภาคประชาชน 2554; 7(1) ตุลาคม – พฤศจิกายน : 48 – 56.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และปารณัฐ สุขสุทธิ์. ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข:บทบาท และ บริบทที่เปลี่ยนไปในสังคมไทย. [ออนไลน์]. (2556). [เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556]. เข้าถึงได้จาก www.Shi .or.th/upload/volunteer.pdf; 2552.
นารีรัตน์ จิตรมนตรี และนวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา. รายงานวิจัยการประเมินภาวะสุขภาพศักยภาพ ปัญหาและความต้องการต่อการดูแลระยะยาว : กรณีผู้เป็นอัมพฤกษ์/อัมพาต. นครปฐม : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.
Edmaonds LJ..Mainstreaming community based rehabilitation in primary health care in BosniaHerzegovina. Disability & Society; 2005.
นงนุช เพ็ชรร่วง ปนัดดา ปริยทฤฆ และวิโรจน์ ทองเกลี้ยง. การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองอย่างต่อเนื่องในศูนย์สุขภาพชุมชน.วารสารพยาบาลทหารบก 2556; 14(1) มกราคม – เมษายน: 1 – 7.
วิโรจน์ ตังเจริญเสถียร และคณะ. รายงานการวิจัย ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกภายใต้ สวัสดิการ. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข; 2536.
สุภาณี อ่อนชื่นจิตร และฤทัยพร ตรีตรง. การบริการสุขภาพที่บ้าน. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์; 2549.
วนรัตน์ วิจิตร. การพัฒนาตัวแบบระบบบริการ สุขภาพสำหรับผู้พิการในระดับปฐมภูมิ [ดุษฎีนิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์]. พิษณุโลก : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว