ประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อให้บริการผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, โรคหลอดเลือดสมอง, ช่องทางด่วน, ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สำหรับ การให้บริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตจังหวัดนครราชสีมา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ (1) กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และ (2) กลุ่มตัวอย่างในการประเมินประสิทธิผลการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน เครื่องมือในการวิจัย คือ (1) แบบประเมินมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (2) แบบสอบถามการรับบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ภายใต้ 3 กระบวนการหลัก คือ (1) กระบวนการวิจัยเชิงสำรวจปัญหา (2) กระบวนการพัฒนา และ (3) กระบวนการประเมินประสิทธิผล โดยข้อมูลจะถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับการให้บริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ภายใต้แนวคิด “CARE model” ซึ่งเป็นการพัฒนาการบริการทั้งแบบเชิงรุกในชุมชน และตั้งรับที่โรงพยาบาล ด้านความพร้อมพบว่าโรงพยาบาลทุกแห่ง มีความพร้อมตามมาตรฐานการปฏิบัติงานทั้งหมด ทั้งทีมปฏิบัติการ ALS, BLS, และ FR มีอุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์ตามเกณฑ์การให้บริการทั้งหมด รวมถึงความรู้และทักษะสำหรับการให้บริการของทีม ALS ทีม BLS และ ทีม FR อยู่ในระดับดี หลังระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินถูกพัฒนาขึ้นพบว่า ผู้ป่วยหรือญาติร้อยละ 81.7 มีการติดต่อรถกู้ชีพหรือรถพยาบาลภายในเวลา 15 นาทีเมื่อมีอาการเตือน และรถกู้ชีพหรือรถพยาบาลมาถึงที่ภายในเวลา 30 นาทีร้อยละ 89.6 ซึ่งร้อยละ 100 นำส่งผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาลได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมง ด้านการให้บริการพบว่าเมื่อผู้ป่วยมาถึงห้องฉุกเฉินมีพยาบาลได้เข้ามาซักประวัติผู้ป่วยอย่างรวดเร็วภายในเวลา 5 นาที พร้อมกับมีแพทย์เวรเข้ามาทำการรักษาต่อ ก่อนที่จะส่งไปรักษาต่อยังแผนกอื่น ซึ่งพบร้อยละ 100 เช่นกัน จากการพัฒนาระบบนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระบบบริการมากที่สุด โดยพบถึงร้อยละ 71.3 รองลงมาคือ มีความพึงพอใจมาก และพึงพอใจปานกลาง ซึ่งพบร้อยละ 15.7 และ 13.0 ตามลำดับประสิทธิผลของการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง คือ ได้แนวทาง “Care model” ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์อย่างเร่งด่วน
References
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานจำนวนอัตราป่วยตาย ปี 2559 – 2562. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd. com/2016/mission/documents-detail.php? id=13893&tid=32&gid=1-020
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
กลุ่มงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินและสาธารณภัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้เข้ารับการบริการ ปี 2560 – 2562. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2563.
กรกฏ อภิรัตน์วรากุล. การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(3) : 289 – 94.
ดลปภัฎ ทรงเลิศ รัถยานภิศ พละศึก และนิศารัตน์ นรสิงห์. การพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ในการดูแลปัญหาด้านจิตสังคมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561; 5(1) : 167 – 78.
วรายุภัสร์ กลางประพันธ์. การพัฒนาการบริการสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในพื้นที่ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2560; 2(3) ตุลาคม 2560 - มีนาคม 2561 : 1 – 12.
กชพรรณ ศรีท้วม และนิภาวรรณ เนินเพิ่มพิสุทธิ์. รูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตําบลบางระกํา อําเภอบางระกํา จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2561; 5(3) กรกฎาคม –กันยายน : 1 – 14.
สายฝน เติบสูงเนิน และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. ระดับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ่อทอง อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. ศ รีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(5): 482 – 90.
อรทัย มานะธุระ. ผลการพัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพ เรื่องอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองและการเข้าถึงระบบบริการทางด่วน ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และญาติ ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2562; 13(32) กันยายน – ธันวาคม : 206 – 21.
ไพรินทร์ พัสดุ และดารุณี จงอุดมการณ์. การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2563; 13(1) มกราคม มิถุนายน : 179 – 95.
สงบ บุญทองโท นิสากร วิบูลชัย และองุ่น บุตรบ้านเขวา. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลวาปีปทุมและเครือข่ายบริการ. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2560; 14(3) กันยายน – ธันวาคม : 100 – 13.
บดีภัทร วรฐิติอนันต์. การพัฒนากลยุทธ์ช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองส่งผลให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ภายใน 6 นาที. สมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย 2020;19(1) : 5 – 15.
เมธิณี เกตวาธิมาตร. บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดในระยะวิกฤต. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 11 (2): 71 – 80.
แสงอรุณ ใจวงศ์ผาบ ศรีวรรณ เรืองวัฒนา ธนิตา จิตนารินทร์ และคณะ. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลำพูน. วารสารพยาบาล 2563; 69(2) : 37 – 45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว