ชุมชนท้องถิ่นกับการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชน

ผู้แต่ง

  • สมชาย ชัยจันทร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ชุมชนท้องถิ่น, การดูแลผู้สูงอายุ, ศักยภาพผู้สูงอายุ, ทุนทางสังคม

บทคัดย่อ

โลกกำลังเผชิญการเพิ่มขึ้นทั้งขนาดและสัดส่วนของผู้สูงอายุ โดยคาดว่าในปี 2593 ประชากรทั่วโลกประมาณหนึ่งในหกคน​จะเป็นผู้สูงวัยอายุมากกว่า 65 ปี และสังคมไทยคาดว่าจะเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” ในปี 2576 การสูงอายุส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ ปัญหาสังคม และเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากความสูงอายุคือภาวะเสื่อมของร่างกายที่เพิ่มขึ้นตามวัย ในขณะที่มุมมองอีกด้าน ผู้สูงอายุมีความแตกต่างและหลากหลายในด้านสุขภาพบทบาทหน้าที่ทางสังคมหรือรายได้​ การสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถแล พลังอำนาจ​ นอกจากนี้สุขภาพและความมั่งคั่งของผู้สูงอายุเป็นการปันผลทางประชากรระยะที่ 2 สู่การปันผลทางประชากรระยะที่ 3 การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ มิติด้านการมีส่วนร่วม มิติด้านความมั่นคงหรือการมีหลักประกันในชีวิต และมิติด้านสภาพแวดล้อมทีเอื้อต่อการมีศักยภาพของผู้สูงอายุ ชุมชนท้องถิ่นเป็นพื้นที่สำคัญที่ให้การดูแลและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ โดยใช้ทุนทางสังคมของชุมชนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนการดูแลและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ซึ่งทุนทางสังคมในชุมชน ประกอบด้วย ระดับบุคคล ระดับบกลุ่มหรือองค์กร ระดับหน่วยงานและแหล่งประโยชน์ในชุมชน ระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล และระดับเครือข่ายทางสังคม กิจกรรมและงานที่สำคัญสำหรับการดูแลและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ได้แก่ กิจกรรมการส่งเสริมอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ กิจกรรมการจัดการอาหารสำหรับผู้สูงอายุ กิจกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ กิจกรรมการออมเพื่อผู้สูงอายุ กิจกรรมจิตอาสา การป้องกันอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุ การตั้งและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุต่อเนื่อง และการบริการกายอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น 

References

United Nations. World Population Ageing 2019. [ออนไลน์]. (2020). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/ WorldPopulationAgeing2019-Highlights.pdf

ปราโมทย์ ประสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: พริ้นเทอรี่; 2563.

จารีย์ ปิ่นทอง และคณะ. สังคมสูงวัยกับความท้าทายตลาดแรงงานไทย. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/ AgePeriodCohort.pdf

สมชาย ชัยจันทร์, ขนิษฐานันทบุตร. วาทกรรมอัตลักษณ์คุณค่าผู้สูงอายุในชุมชน, วารสารพยาบาลและสุขภาพ 2561; 41: 84-94

เกื้อ วงศ์บุญสิน, พัชราวลัย วงศ์บุญสิน. การปันผลทางประชากรระยะ 3: สู่สังคมสูงวัยระดับสูงสุดของไทย. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647465

World Health Organization. Active Ageing: A Policy Framework. Geneva: World Health Organization. [ออนไลน์]. (2002). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://extranet.who.int/agefriendlyworld/wp-content/uploads/2014/06/WHO-Active-Ageing-Framework.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กระทรวงดิจิทอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย, [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/domographic/Active%20Ageing/Active%20Ageing%20Index.pdf

สมชาย ชัยจันทร์. วิถีชุมชน: พื้นที่ประกอบสร้างอัตลักษณ์เชิงคุณค่าผู้สูงอายุ, วาสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี 2563; 2: 12-21.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.local.moi.go.th/tambon_update.pdf

ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. คู่มือการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสนับสนุนวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษาร่วมกับชุมชนท้องถิ่น; วันที่ 24-25 พฤษภาคม 2561; ณ ห้องวีนัส โรงแรมมิราเคิลหลักสี่ กรุงเทพมหานคร.

ไมตรี อินเตรียะ. ทุนทางสังคม. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ 2560; 9:14-25

ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. แนวทางการถอดบทเรียนชุมชนท้องถิ่นต้นแบบ (จัดการตนเอง); วันที่ 11-13 กันยายน 2560; ห้องประชุมวายุภักษ์ 6 ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร; 2560.

สมชาย ชัยจันทร์ และคณะ. รายงานสรุปการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการสนับสนุนวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษาร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น 2562; วันที่ 22-24 กรกฎาคม 2562 ห้องประชุม VIP 3 สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27