ผลการประเมินปัญหาการใช้ยาและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการเยี่ยมบ้านแบบ INHOMESSS ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
การเยี่ยมบ้านแบบ INHOMESSS, ปัญหาการใช้ยา, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยโรคเรื้อรังบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินปัญหาการใช้ยาและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการเยี่ยมบ้านแบบ INHOMESSS ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี วิธีการ : สัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและ/หรือโรคเบาหวานที่ได้รับการเยี่ยมบ้านในเดือนธันวาคม 2563 จำนวน 87 คน
ผลการวิจัย : ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ สามารถดูแลตนเองได้ รวมถึงสามารถจัดยารับประทานได้เองโดยผู้ป่วยแต่ละรายได้รับยาเฉลี่ย 3-4 ชนิด โดยไม่เกิดอาการข้างเคียงที่ผิดปกติหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยสามารถระบุชนิดยา จำนวนยาที่ต้องรับประทานในแต่ละครั้ง และเวลาในการรับประทานยาได้อย่างถูกต้อง ปัญหาส่วนใหญ่คือการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอร้อยละ 45.98 ผู้ป่วยลืมรับประทานยาและไม่รับประทานในทันทีที่นึกได้ และเร่งรีบออกไปทำงานในช่วงเช้า แสดงให้เห็นว่าลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันและสภาพทางสังคมส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วย
References
World Health Organization: Definition, diagnosis and classification of diabetes mellitus and its complications. Part 1: Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus. Geneva: World Health Organization; 1999.
Saeedi P, Petersohn I, Salpea P, Malanda B, Karuranga S, Unwin N et al. Global and regional diabetes prevalence estimates for 2019 and projections for 2030 and 2045: Results from the International Diabetes Federation Diabetes Atlas, 9th edition. Diabetes research clinical practice 2019; 157 : 1 – 10.
World Health Organization. Hypertension statistics. [Online]. 2019 [cited 2019 September 30]. Available from https://www .who.int/newsroom/fact-sheets/detail /hypertension
คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/ main/index.php
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
โรงพยาบาลเปาโล. โรคแทรกซ้อน ที่มากับเบาหวาน [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ 6 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article /Details/ บทความ-เบาหวาน-ความดัน/โรคแทรกซ้อน-ที่มากับเบาหวาน
โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่. โรคเบาหวาน…รู้จักเพื่อป้องกัน รู้ทันเพื่อควบคุม. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ 6 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www. bangkokhospital-chiangmai.com/สาระสุขภาพและกิจกรรม/โรคเบาหวาน/
วสันต์ จันทา. ปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุที่ได้รับยาหลายขนาน โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ 6 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www2.nmd.go. th/sirikit/srkhosp/www/KmSrk3/lib/r2r/R2R-4-วสันต์.pdf
หทัยรัตน์ สุขศรี เพ็ญนภา ศรีหริ่ง และทิพาพร กาญจนราช. ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยในการรักษาตนเองที่บ้านในเขตชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554 “การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”; 27-29 มกราคม 2554; มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร 2554 ; 761 – 4.
Wiwat Thavornwattanayong. องค์ความรู้ และทักษะเบื้องต้นสำหรับงานเภสัชกรรมครอบครัว. Veridian E-Journal Science and Technology. Silpakorn University 2016; 3(2) : 44 – 61 .
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว