ผลของการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่องกลุ่มยาจิตเวชต่อนักศึกษา พยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • แสงนภา บารมี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา
  • ทยาวีร์ จันทรวิวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา

คำสำคัญ:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3, กลุ่มยาจิตเวช

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดสองครั้ง (two group pretest-posttest design)  วัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง กลุ่มยาจิตเวช (2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ เรื่องกลุ่มยาจิตเวช ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปีที่ 3 ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และไม่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปีที่ 3 ต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กลุ่มยาจิตเวช กลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมาที่ใช้สามาร์ทโฟนระบบ Andriod จำนวน 127 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ ได้ 100 คน และสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มจำเพาะ ได้กลุ่มทดลอง 50 คน กลุ่มควบคุม 50 คน เครื่องมือ (1) แบบสอบถาม การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการเรียน (2) แบบทดสอบเรื่องกลุ่มยาจิตเวช (3) แบบประเมินความพึงพอใจ

            ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ของกลุ่มทดลองหลังการเรียนรู้เรื่อง กลุ่มยาจิตเวช ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และความพึงพอใจของกลุ่มทดลองหลังการเรียนรู้ เรื่อง กลุ่มยาจิตเวช หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.97 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.82 ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเนื้อหาในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริง

References

มาโนช หล่อตระกูล. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

กรมสุขภาพจิต. รู้หรือไม่ ร้อยละ 10 ของชาวอาเซียนมีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม 2562] เข้าได้ถึงจาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30011

มาโนช หล่อตระกูล. การใช้ยาจิตเวชในทางคลินิก. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด; 2560.

โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์. รายงานการดำเนินงานติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน. สงขลา : โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์; 2556

สิริภัทร เมืองแก้ว. การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) รายวิชาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน (ภาษาจีน) สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ. วารสารศึกษาศาสตร์สาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2561; 2(1) : 18-32.

วารุณี คงวิมล. การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง การใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อผลิตสื่อการสอน สำหรับครูระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา]. ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

กฤษณ์ คงทวีศักดิ์. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ประกอบการเรียน[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ]. กรุงเทพ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2558.

สุทิน โรจน์ประเสริฐ.การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพโฆษณา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2555.

ชัยวัฒน์ ตัณฑรังษี. รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา กรณีศึกษารายวิชาการศึกษาทั่วไป; ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันวิจัยและพัฒนา; 2555.

Carla Wood. The Effect of E-Book Vocabulary Instruction on Spanish-English Speaking Children : Journal of Speech Language Hearing Research; 2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02