การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สังวาล จ่างโพธิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภภาพตำบลมะค่า

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

   ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุ มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผลกระทบต่อสมรรถนะร่างกาย ทุพพลภาพ และภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังในผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติ โดยประยุกต์ใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม ศึกษาระดับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพ ระดับคุณภาพชีวิต และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ตัวแทนภาคีเครือข่าย 30 คน และผู้สูงอายุ 264 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสอบถามการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยค่าไคว์สแคว กำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) การศึกษาปัญหา (2) การจัดเวทีแลกเปลี่ยนอย่างมีส่วนร่วม (3) การวางแผนอย่างมีส่วนร่วม (4) การคืนข้อมูลให้ชุมชน (5) การประชาคม (6) การดำเนินการตามแผน (7) การประเมินผล ผู้สูงอายุมีการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 73.48) มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 62.88) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ อาชีพ รายได้สุทธิต่อเดือน ความเพียงพอของรายได้ สุขภาพของผู้สูงอายุ การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของชุมชน และการปฏิบัติตัวใน
การดูแลสุขภาพ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ดังนั้นควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การปฏิบัติตัวด้านการออกกำลังกาย และด้านการจัดการความเครียด ให้กับผู้สูงอายุเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง; 2564.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ก้าวย่างของประเทศไทย สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 17]. เข้าถึงได้จาก https:// www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id= 30476

ทิพยาภา ดาหาร และเจทสริยา ดาวราช. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสาร วิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2561; 2(3) : 42 – 54.

ศิรประภา หล้าสิงห์ สุมัทนา กลางคาร และ ศิรินาถ ตงศิริ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 6(2) : 29 – 40.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะค่า. รายงานจำนวนผู้สูงอายุ. นครราชสีมา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะค่า. สำเนาอัด; 2564

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. Participation place in rural development: Seeking clarity through specificity, world development. New York: Cornell University; 1980.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: United State of America;

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI). [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th /test/download/files/whoqol.pdf

วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี [ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป]. ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

ฉวีวรรณ อุปมานะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก”; 2561.

ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์ อมรรัตน์ รัตนสิริ บังอรศรี จินดาวงค์ และคณะ. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอาศัยในชุมชนชานเมือง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561; 33(2): 153 – 60.

พัชราภรณ์ พัฒนะ. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 4. พุทธชินราชเวชสาร 2562; 36(1): 21 – 33.

อรนิษฐ์ แสงทองสุข. การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2562.

สุภาภรณ์ ทันธอัถต์ สุธรรม นันทมงคลชัย โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(1): 1 – 13.

กิตติวงค์ สาสวด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย 2560; 11(2): 21 – 38.

ชลธิชา จันทร์แจ้ง สุพรรษา อามาตย์เสนา ถนอมศักดิ์ บุญสู่ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในเขตตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการ “มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 13”; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02