ผลลัพธ์ทางคลินิกการติดตามการใช้ยารักษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่นไลน์
คำสำคัญ:
การติดตามและประเมินผลการใช้ยา, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, แอปพลิเคชั่นไลน์ , การบริการเภสัชกรรมทางไกลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่นไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี จำนวน 40 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การติดตามการใช้ยารักษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่นไลน์ โดยใช้สถิติสถิติพรรณนา เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง เช่น เปรียบเทียบผลลัพธ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่นไลน์ โดยทดสอบทางสถิติโดยใช้ paired t-test มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ p-value < 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ผลเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและหลังได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร ร่วมกับการติดตามการรักษาทางแอปพลิเคชั่นไลน์ พบว่า ค่า Total Cholesterol ระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value=0.001)โดยค่าเฉลี่ยก่อนทดลองสูงกว่าหลังทดลอง ค่า LDL Cholesterol (mg/dl) ระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value=0.001)โดยค่าเฉลี่ยก่อนทดลองสูงกว่าหลังทดลอง ค่า HbA1C ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ค่า HbA1C ระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลอง
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value=0.02)โดยค่าเฉลี่ยก่อนทดลองสูงกว่าหลังทดลอง ส่วน ค่า HDL Cholesterol (mg/dl)
ค่า Triglyceride (mg/dl) ค่า fbs (mg/dl) ค่า Cr (mg/dl) ค่า GFR (ml/min/1.73 m2) ระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผลการศึกษาพบว่าการติดตามผลผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่นไลน์มีผลต่อการดูแลผู้ป่วยเนื่องจากได้เห็นผลทางคลินิก ดังนั้น แนวทางการบริหารด้านเภสัชกรรมควรส่งเสริมให้มีการติดตามผลผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่นไลน์ เนื่องจากสะดวก ปลอดภัย และเป็นวิธีที่เหมาะกับสถานการณ์
การระบาดโควิด 19
References
World Health Organization.World Health Statistics 2006. [Online]. [1 December 2021]. Available from http://www.who.int/health/statistics/programme/en/index.html.
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2563.
สุรชัย โชคครรชิตไชย. โควิด-19: การระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยปลายปี 2563. วารสาร สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563; 10(3) : 1 – 2.
ทรงวุฒิ สารจันทึก. เภสัชกร อีกวิชาชีพบทบาทกับการสู้โควิด-19. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 27 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www .hfocus.org/content /2020/05/19430?f bclid=IwAR2wYTgCtA7hp JFYKZu WNMsK8nIXnZT91Ybz0LlDplZvhDe4fLhRldtTw8M
สุนิดา สดากร วรนุช แสงเจริญ โพยม วงศ์ภูวรักษ์ และคณะ. ผลของการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557; 10(3) : 354 – 71.
สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์, และสการินทร์ มีสมพืชน์. ผลลัพธ์ของการจ่ายยารักษาโรคเบาหวานต่อเนื่องโดยเภสัชกรในศูนย์สุขภาพชุมชน. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2552; 4(3): 310 – 6.
Statistics on the number of patients. Wang Muang District. Saraburi Province; 2020.
จุลนี เทียนไทย. ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก website: https://www.ryt9.com/s/prg/3103 058
ชาญชัย บุญเชิด. การติดตามผู้ป่วยพิการ ติดเตียง มะเร็ง และการดำเนินงานเภสัชกรรมปฐมภูมิโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ (LINE) ในเขตพื้นที่ตำบลโพนงาม หนองหมี กำแมดเทศบาลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร . วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561; 27(5): 1 – 7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว