รายงานผลการคัดกรองรอยโรคมะเร็งช่องปากอย่างครบวงจรตั้งแต่ระดับปฐมภูมิถึงตติยภูมิ ในอำเภอประทาย โนนสูง โนนไทย พระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุเมธ กาญจน์กระสังข์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การคัดกรองมะเร็งช่องปาก, รอยโรคที่มีแนวโน้มเป็นมะเร็งช่องปาก, OPMDs

บทคัดย่อ

รายงานนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการคัดกรองรอยโรคมะเร็งช่องปาก และรายงานความชุกและอุบัติการณ์ของรอยโรคที่มีแนวโน้มเป็นมะเร็งและมะเร็งช่องปาก รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ในประชากรพื้นที่อำเภอ ประทาย โนนสูง โนนไทย และพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา โดยนำข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลมะเร็งช่องปากมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับอนุญาตในการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะในส่วนของจังหวัดนครราชสีมาและเลือกเมนูรายงานที่เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ  

ผลการศึกษา พบว่า โครงการนี้เป็นรูปแบบการคัดกรองมะเร็งช่องปากในระดับประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 40 ปีขึ้นไป ด้วยการเลือกคัดกรองรอยโรคในผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งช่องปาก ซึ่งได้ดำเนินการคัดกรองประชากรในชุมชนทั้ง 4 อำเภอ รวมทั้งหมด 102,977 คน อายุเฉลี่ย 60.5 ปี พบผู้มีปัจจัยเสี่ยง 58,498 คน (ร้อยละ 56.8) มีผู้ให้ความร่วมมือเข้ารับการคัดกรองรอยโรคในช่องปากจากทันตาภิบาลที่ รพ.สต. จำนวน 32,486 คน (ร้อยละ 55.5) ตรวจพบมีรอยโรคผิดปกติหรือน่าสงสัยแล้วส่งต่อเพื่อการคัดกรองในระดับถัดไป จำนวน 737 คน (ร้อยละ 2.3) ในจำนวนนี้มี 474 คน (ร้อยละ 64.3)ที่ให้ความร่วมมือเข้ารับการคัดกรองรอยโรคมะเร็งช่องปากจากทีมทันตแพทย์เฉพาะทาง  ตำแหน่งในช่องปากที่พบรอยโรคมากที่สุด คือกระพุ้งแก้ม (ร้อยละ 40) และ ลิ้น (ร้อยละ 25.8) ตามลำดับ ส่วนการจำแนกรอยโรคที่ตรวจทางคลินิก พบเป็นรอยโรคที่มีแนวโน้มเป็นมะเร็ง (OPMDs) จำนวน 81 คน
คิดเป็นความชุกเท่ากับ 2.5 ต่อประชากรที่ได้รับการคัดกรอง 1000 คน ผลการวินิจฉัยเป็นมะเร็งช่องปากจำนวน 7 คน ซึ่งอุบัติการณ์โดยรวมของมะเร็งช่องปาก เท่ากับ 0.2 ต่อ 1000 ประชากร  ลักษณะของรอยโรค OPMDs ที่พบมากที่สุดคือ รอยโรคสีแดงปนขาว (ร้อยละ 9.3)   และรอยโรคสีขาว (ร้อยละ 7)  ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของกลุ่ม OPMDs ที่พบมากที่สุด ได้แก่ สูบบุหรี่/เคยสูบ (ร้อยละ 55.5)  รองลงมาคือ  สูบบุหรี่และเคี้ยวหมาก  และ สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามลำดับ

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิวธรรมดา จำกัด; 2562.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิวธรรมดา จำกัด; 2563.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: หน่วยงานเวชระเบียนและฐานข้อมูลโรคมะเร็ง; 2564.

Brocklehurst P, Kujan O, O’Malley LA, Ogden G, Shepherd S, Glenny AM. Screening programmes for the early detection and prevention of oral cancer. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013; 11: CD004150. doi:10.1002/14651858 .CD004150.pub4.

Petersen PE. Oral cancer prevention and control – The approach of the World Health Organization. J Oral Oncology 2009; 45(23): 454 – 60.

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. บูรณาการแนวทางการเลิกยาสูบกับสุขภาพช่องปาก = WHO monograph on tobacco cessation and oral health integration (translated to Thai). กรุงเทพฯ: บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด; 2564.

Parakh MK, Ulaganambi S, Ashifa N, Premkumar R, Jain AL. Oral potentially malignant disorders: clinical diagnosis and current screening aids: a narrative review. European Journal of Cancer Prevention 2020; 29(1): 65 – 72.

Joseph BK. Oral Cancer: Prevention and Detection. J Med Principles Pract 2002; 11(1): 32 – 5.

Speight PM, Epstein JE, Kujan O, Lingen MW, Nagao T, Ranganathan K, et al. Screening for oral cancer – a perspective from the Global Oral Cancer Forum. J Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol 2017; 123(6): 680 – 87.

Warnakulasuriya S, Fennell N, Diz P, Seoane J, Rapidis A. An appraisal of oral cancer and pre-cancer screening programmes in Europe: a systematic review. J Oral Pathol Med. 2015; 44: 559 – 70.

Mello FW, Miguel AFP, Dutra KL, Porporatti AL, Warnakulasuriya S, Guerra ENS, et al. Prevalence of oral potentially malignant disorders: A systematic review and meta-analysis. J Oral Pathol Med. 2018; 47: 633-40. https://doi.org/10.1111 /jop. 12726

Chuang SL, Su WWY, Chen SLS, Yen AMF, Wang CP, Fann JCY, et al. Population-Based Screening Program for Reducing Oral Cancer Mortality in 2,334,299 Taiwanese Cigarette Smokers and/or Betel Quid Chewers. Cancer 2017; 1597-1609. doi: 10 .1002/cncr.30517

Sankaranarayanan R, Ramadas K, Thara S, Muwonge R, Thomas G, Anju G, et al. Long term effect of visual screening on oral cancer incidence and mortality in a randomized trial in Kerala, India. J Oral Oncology 2013; 49(4): 314 – 21.

Wetzel SL, Wollenberg J. Oral Potentially Malignant Disorders. Dent Clin North Am 2020; 64: 25-37. https://doi.org/10.1016 /j.cden.2019.08.004

Sankaranarayanan R, Mathew B, Jacob BJ, Thomas G, Thara S, Pisani P, et al. Early Findings from a Community-Based, Cluster-Randomized, Controlled Oral Cancer Screening Trial in Kerala, India. Cancer 2000; 88(3): 664 – 73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27