พฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย เอกสันติ ์Nakhon Ratchasima Ratchabhat University
  • จิราเจต สีดาหัส
  • ปิยะพร ขวัญสูงเนิน
  • พิมพ์ประไพ พ่วงกลาง
  • พัชรินทร์ ยุพา

คำสำคัญ:

ดัชนีมวลกาย, พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค, 3อ 2ส

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา จำนวน 371 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่   ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยค่าไคสแควร์ (Chi-square test)

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.8 อายุ 21 ปี ร้อยละ 28.3 รายได้ต่อเดือน 3,000 - 5,000 บาท ร้อยละ 45.6 พักอยู่หอพัก   ร้อยละ 56.1 เครือญาติทางพันธุกรรมมีภาวะอ้วน      ร้อยละ 33.0 และมีค่าดัชนีมวลกาย Body Mass Index (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 46.6 รองลงมา เกินเกณฑ์ ร้อยละ 33.5 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 19.9 มีความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินอยู่ในระดับเพียงพอ ร้อยละ 64.7  ทัศนคติอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 86.3 พฤติกรรมการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 58.0 พฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 67.1 พฤติกรรมการจัดการความเครียดอยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 67.1  พฤติกรรมการสูบบุหรี่อยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 82.2 และพฤติกรรมการดื่มสุราอยู่ในระดับพฤติกรรมเหมาะสม ร้อยละ 53.1 และพบว่า เพศ ( =9.906, df= 2, p = 0.007) อายุ ( =26.578, df= 14, p = 0.022) และเครือญาติทางพันธุกรรมมีภาวะอ้วน ( =13.210, df= 2, p = 0.001) มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) นอกจากนี้ ยังพบว่า พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ( =9.524, df= 2, p = 0.009) มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05)

References

World Health Organization. Non-communicable diseases. [Online]. (2019). [Retrieved 16 September 2022]. Available from : https://www.who.int/news-room/fact-sheets/ detail/noncommunicable-diseases

ณิชากร ศรีเพชรดี อนุชิต นิ่มตลุง และอาทิตย์ เคนมี. อุบัติการณ์โรคอ้วนบนความรุ่งเรืองอุตสาหกรรมอาหาร. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://waymagazine.org/ncd_bmi/

สำนักงานส่งเสริมกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https:// www.thaihealth.or.th/Content/20399 Miguel Seral-Cortes, Sergio Sabroso-Lasa and Pilar De Miguel-Etayo.

จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ และ นันทนา คะลา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมาที่มีภาวะอ้วน. (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา; 2559.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สถิติ/บริการสารสนเทศ จำนวนนักศึกษาทั้งหมด ปีการศึกษา 2564. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://apro.nrru.ac.th/

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement 1970; 30 (3): 607- 10

World Health Organization. Expert Consultation Appropriate body–mass index for Asian populations and its implication for policy and intervention strategies. Lancet. 2004; 363 : 157 – 63.

Kiess, H. O. Statistic concept for behavior sciences. Biston: Allyn and Bacon Inc; 1989.

Best, J. W. Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc; 1977.

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร นภัสรัญชน์ ฤกษ์เรืองฤทธิ์ นลพรรณ ขันติกุลานนท์ และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. กับดัชนีมวลกายของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนางวไลอลงกรณ์ 2564; 16(2): 27 – 41.

มัลลิกา จันทร์ฝั้น. การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพต่อโรคอ้วน ของนิสิตสาขาวิชาสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. (รายงานวิจัย) กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557.

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินในชนบท. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2563; 14(35) : 464 – 82.

นัชชา ยันติ อภิญญา อุตระชัย และกริช เรื่องไชย. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะน้ำหนักเกินในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปทุมธานี: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-31