การพัฒนาระบบรับ – ส่งต่อผู้ป่วย (Smart Refer) เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • สุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร สำนักงานสาธารสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รับ-ส่งต่อผู้ป่วย, Refer, เขตสุขภาพที่ 10, ระบบสารสนเทศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วย (Smart Refer) ภายในเขตสุขภาพที่ 10 (2) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจำเป็นในการรับส่งต่อผู้ป่วย เขตสุขภาพที่ 10 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบรับส่งต่อผู้ป่วย โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิจัยและพัฒนาเป็นข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) คือข้อมูลประวัติผู้ป่วย ข้อมูลแพ้ยา ข้อมูลการวินิจฉัยโรค ข้อมูลการได้รับยา ข้อมูลผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ข้อมูลหัตถการ ข้อมูลการวินิจฉัย ข้อมูลผลทางรังสีวิทยา และข้อมูลประวัติการรับยาเดิม อีกทั้งยังมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรับ ส่งต่อผู้ป่วย เช่นข้อมูลการขอรับคำปรึกษาระหว่างสถานพยาบาล ข้อมูลระดับความรุนแรงของผู้ป่วย เป็นต้น โดยการพัฒนาระบบได้รับความต้องการและข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานจริงจากสถานบริการในเขตสุขภาพที่ 10

ผลการวิจัยพบว่า สามารถพัฒนาระบบรับ - ส่งต่อผู้ป่วย ในรูปแบบเว็ปแอพพลิเคชั่น เพื่อให้โรงพยาบาลหรือสถานบริการในเขตสุขภาพที่ 10 ได้ใช้งานทดแทนการใช้เอกสารกระดาษในการส่งข้อมูลการรับ - ส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้ระบบจำนวน 30 คนโดยใช้แบบสอบถาม พบว่าผู้ใช้ระบบรับ - ส่งต่อผู้ป่วย มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.70, SD = 0.79) จากผลดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ได้จริงและสนับสนุนการทำงานของการดำเนินงานการรับ ส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

วันเพ็ญ พิชิตพรชัย และอุษาวดี อัศดรวิเศษ. การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย : แนวคิดและการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบส่งข้อมูลผู้ป่วยรักษาต่อเนื่อง nRefer. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://nrefer.moph.go.th/refer/report /sent?date =2022-04-29&typegroup=P

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยุเคชั่น จำกัด (มหาชน); 2554

เร็นสิส เอ. ลิเคิร์ท. ลิเคิร์ทสเกล. ความพึงพอใจ : เกณฑ์สำหรับประเมินความพึงพอใจ. [ออนไลน์]. 2553. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : Error! Hyperlink reference not valid.

ปรีชา แหวนหล่อ บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์ และ สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยทางอินเทอร์เน็ต จังหวัดศรีสะเกษ. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2560; 16(3): กรกฎาคม – กันยายน : 215 – 24.

อโณทัย จันแก้ว. การพัฒนาต้นแบบระบบการส่งต่อด้วยมาตรฐาน HL7. [ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชาคอมพิวเตอร์]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2550.

นลินี ศรีบุญเรือง. การสร้างระบบการส่งข้อมูลทางการแพทย์ผ่านเว็บเซอร์วิสโดยใช้ HL7 V.3กรณีศึกษาโรงพยาบาลพญาไท 2. [ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27