การพัฒนาโปรแกรมและผลของโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในแปลงนาข้าว

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย เอกสันติ -
  • นิภา มหารัชพงศ์
  • ยุวดี รอดจากภัย
  • อนามัย เทศกะทึก

คำสำคัญ:

เกษตรกรทำนาข้าว, ความรอบรู้สุขภาพ, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลของโปรแกรมสุขศึกษาและ          การส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปีและนาปังและอยู่ในเขตพื้นที่คลองส่งน้ำชลประทาน จังหวัดนครราชสีมา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 37 คน ดำเนินการจัดโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระดับคะแนนของปัจจัยที่ศึกษาด้วยสถิติ McNemar’s Test และ Kruskal Wallis’s Test และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดับคะแนนก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ Paired Samples t-test ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95%

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้สุขภาพ และพฤติกรรม การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หลังการเข้าร่วมโปรแกรม สูงขึ้นกว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ภายหลังที่กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า ความรอบรู้สุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีผลต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรควรนำโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพไปประยุกต์ใช้กับเกษตรกรกลุ่มที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพสูงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย อาทิ เช่น กลุ่มผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 - 2564. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https:/ /www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถิติการเกษตรของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2560.

พันนิภา ยาใจ ปิยะวรรณ ใยดี และกุลชนา เกศสุวรรณ์. ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการระบาดของโรคข้าวในนาชลประทานที่ปลูกต่อเนื่องในจังหวัดแพร่และอุตรดิตถ์. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://prerrc.ricethailand.go.th/images/ PDF59/final_57.pdf

กรสิริ ศรีนิล และคณะ. การเปลี่ยนแปลงประชากรของแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญในจังหวัดเชียงราย จากผลกระทบของสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://dspace.tarr. arda.or.Th/handle/6622815955/9550(256.

สมชาย บุญประดับ และคณะ. รายงานชุดโครงการวิจัยภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับระบบการผลิตภาคเกษตร. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2558

Un Mei Pan. Risk assessment for demal exposure of organophosphate pesticides in rice-growing farmers at Rangsit agricultural area, Pathumthani province, Central Thailand. [online]. (2009). [Retrieved January 14, 2020]. Available from http://cuir.car.chula.ac.th /handle /123456789/17514

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตราย ปี 2560. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http:// www.doa.go.th/ard/index.php?option=com_content&view=article&id=22:stat2535&catid=29:stat&Itemid=104

สุวรรณา ประณีตวตกุล และคณะ. สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สิ่งแวดล้อม และความเปราะบางสู่ความยากจนของครัวเรือนเกษตรกรในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.); 2557.

ชิดหทัย เพชรช่วย. สถานการณ์การใช้สารเคมีการเกษตรบริเวณภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2560; 9(1) : 111 – 22.

สุธาสินี อั้งสูงเนิน. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย 2558; 9(1) : 50 – 63.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. ระบบสถิติทางการทะเบียน. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 2 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http:// stat.bora.dopa. go.th/stat/statnew/statTDD/

กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร. การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร.[ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 7 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://farmer.doae.go.th/index.php/ bi _report/bi_report5#tabs1

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการคัดกรองสารเคมีในเลือดประชากรกลุ่มเสี่ยง. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2562.

สุนิสา ชายเกลี้ยง และ สายชล แปรงกระโทก. การประเมินทางชีวภาพด้านความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรผู้ทำนา: กรณีศึกษาตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28(3) : 382 – 89.

Nutbeam, D. Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies? Int. J Public Health 2009; 54(5) : 303 – 05.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase reactive paper). กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2560.

Cronbach, Lee. J. Essentials of psychological testing. 5th ed. New York : Harper & Row; 1990.

พรทิวา ทบคลัง และ พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขศึกษา 2562; 42(1) : 80 – 92.

ทวีวรรณ ศรีสุขคำ และ รัตนา ทรัพย์บำเรอ. การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพด จังหวัดพะเยา. วารสารควบคุมโรค 2564; 47(3) : 571 – 83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-31