ปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วรรณา ธนานุภาพไพศาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • รสสุคนธ์ พิไชยแพทย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธ์, พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19, บุคลากร

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ความเชื่อทางด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 และความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ความเชื่อทางด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมาจำนวน 99 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือคือแบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามความเชื่อทางด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 มีค่าความเชื่อมั่น 0.81, 0.81 และ 0.92  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test for Independent Man-Whitney U test  ไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน

ผลการศึกษา พบว่า ความรู้ ความเชื่อทางด้านสุขภาพและระดับพฤติกรรมของอาจารย์มีความแตกต่างจากบุคลากรสายสนับสนุนอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
<0.001 การศึกษาและรายได้ของครอบครัวต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 0.04 ตามลำดับ  ความเชื่อทางด้านสุขภาพรวมทุกด้านและการรับรู้ความสามารถตนเองของการป้องกันโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคโควิด-19 ปัจจัยกระตุ้นการป้องกันโรคโควิด-19มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง การรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19  การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับน้อยกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมความรู้โดยเฉพาะการลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เพื่อให้เกิดพฤติกรรมป้องกันโรคที่เหมาะสม ศึกษารูปแบบการจัดการตนเองในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19

 

 

References

กรมควบคุมโรค กองโรคติดต่อทั่วไป. รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข.[ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2565]. เข้าถึง ได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1150920210610033910.pdf

กรมประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลโควิด. สถานการณ์ COVID-19 ประจำวันที่ 29 มีนาคม 2565. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2565] เข้าถึงได้จาก https:// www.facebook.com/106036604348006 /posts/522880709330258/?d=n.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). สมุทรปราการ : บริษัททีเอสอินเตอร์พริ้นท์จำกัด; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https:// ddc. moph.go.th/covid19-dashboard/.

จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์โควิด 19 โคราช. สถานการณ์โควิด 19 จังหวัดนครราชสีมาวันที่ 29 มีนาคม 2565. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://covid-19. Nakhonratchasima .go.th/ news/detail/485/data.html.

จักรพันธ์ ศิริบริรักษ์ และสมจิต พฤกษะริตานนท์. บทสัมภาษณ์พิเศษ (Special Interview). บูรพาเวชสาร. 2563; 7(1) : 89 – 95.

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph. go.th/ viralpneumonia/file/g_km/handout001_ 12032020.pdf

พชร สุขวิบูลย์. การสำรวจพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง COVID-19. [ปริญญานิพนธ์ ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2564

จังหวัดนครราชสีมา. คำสั่งจังหวัดนครราชสีมาที่ 874/2565 ลว. 22 ม.ค. 65 เรื่องมาตรการในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับพื้นที่ควบคุมจังหวัดนครราชสีมา (ฉบับที่ 3). [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2565]. เข้าถึงจาก https://covid-19.nakhonratchasima.go.th/ announce/detail/153

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. ประกาศวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ลว. 21กุมภาพันธ์ 2565 เรื่องแนวทางปฏิบัติเฉพาะกิจเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงและการจัดการกรณีพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019; 2565.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. ประกาศวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ลว. 21 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่องแนวทางปฏิบัติเพื่อสำรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงและแนวทางบริหารจัดการกรณีพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019; 2565.

บาบารา เค. ไรเมอร์ และ คาเร็น แกลนซ์. ทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพฉบับสรุปสาระสำคัญ Theory at a Glance : A Guide for Health Promotion Practice. สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, ศรีเสาวลักษณ์ อุ่นพรมมี, ผู้แปล. กรุงเทพฯ : บริษัทธนาเพลสจำกัด; 2556.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. พฤติกรรมสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก : รัตนสุวรรณการพิมพ์; 2560.

ตวงพร กตัญญุตานนท์ ธนภรณ์ ทองศิริ อารยา พิชิตชัยณรงค์ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารว.วิทย.เทคโน.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2564; 7(1): 8 – 20.

นารีมะห์ แวปูเตะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล. พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา Prevention Behaviors of Coronavirus Disease 2019 of Songkhla Rajabhat University Students. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 3(2): 31 – 9.

ฮูดา แวหะยี. การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. 2563;6(4): 158 – 68.

นงณภัทร รุ่งเนย เพ็ญแข ดิษฐบรรจง ภคพร กลิ่นหอม และคณะ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.

วีรนุช ไตรรัตโนภาส พัชราภรณ์ อารีย์ และปุณยนุช พิมใจใส. การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคและพฤติกรรมการป้องกันการพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://tdc.thailis.or. th/tdc/.

ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564; 36(5): 597 – 604.

ตรีอมร วิสุทธิศิริ เวสารัช สรรพอาษา และเกษรินทร์ ศิริชวนจันทร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของประชาชนที่อาศัยในชุมชนเมือง. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 2564;6(2): 192 – 202.

ประสพชัย พสุนท์. การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารศิลปะศาสตร์ประยุกต์ 2557; 7(2) : 112 – 25.

อนุวัติ คูณแก้ว. สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2556.

ปราณี มีหาญพงษ์ และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;19(1): 9-15.

จารุณี จันทร์เปล่ง และสุรภา เดียขุนทด. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. วารสาร มจร พัฒนาสังคม 2565; 7(1): 15 – 33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27