ปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อสมรรถนะในด้านการบริหารจัดการของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลชุมชนระดับ M2 จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เอมอัชนา ราชติกา -
  • ขนิษฐา วรธงชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะในด้านการบริหารจัดการของพยาบาลหัวหน้าเวร และเพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อสมรรถนะในด้านการบริหารจัดการของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลชุมระดับ M2 จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์เป็นพยาบาลหัวหน้าเวรตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมระดับ M2 จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 264 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลหัวหน้าเวรมีระดับสมรรถนะด้านการบริหารจัดการอยู่ในระดับสูง (= 3.98, SD= 0.48) ปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อสมรรถนะด้านการบริหารจัดการของพยาบาลหัวหน้าเวรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยด้านการรับรู้บทบาทของพยาบาลหัวหน้าเวร ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม และปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงาน มีทิศทางเชิงบวก และส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารจัดการพยาบาลหัวหน้าเวรร้อยละ 71.8 สามารถเขียนเป็นสมการในการพยากรณ์ได้ดังนี้: “สมรรถนะในด้านการบริหารจัดการ = 0.427 + 0.588 (การรับรู้บทบาทของพยาบาลหัวหน้าเวร) + 0.182 (การทำงานเป็นทีม) + 0.121 (ความพึงพอใจ)” ดังนั้น ผู้บริหารด้านการพยาบาลควรพิจารณาเลือกใช้กลยุทธ์ให้สอดคล้องกับปัจจัยดังกล่าวในการสนับสนุน ส่งเสริมสมรรถนะด้านบริหารจัดการแก่พยาบาลหัวหน้าเวร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและองค์กรต่อไป

References

วรา เขียวประทุม สมพันธ์ หิญชีระนันทน์และปราณี มีหาญพงษ์. องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวรหอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลของรัฐระดับทุติยภูมิ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2565; 32(1): 27 – 39.

ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ. การศึกษาสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลกลาง.วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2562; 15(1): 14 – 22.

วราภรณ์ เจริญบุญ. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2559.

กฤษณา กลิ่นสมิทธิ์. สมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหน่วยงานในโรงพยาบาลวชิรพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล 2560; 19(2): 24 – 34.

ศิริญญ์ รุ่งหิรัญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2554; 6(1): 109 – 20.

พวงยุพา ยิ้มเจริญ. การพัฒนาบทบาทสู่การเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร หน่วยศัลยกรรมเด็ก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2559.

เปรมฤดี ศรีวิชัย.ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลหัวหน้าเวรโรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดพะเยา.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35 (3) : 155 – 63.

กองบริหารการสาธารณสุข. หลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท บร์อนทูบี พับลิชชิ่ง จำกัด; 2561.

จิรัชยา เหล่าเขตร์กิจ อารีรัตน์ ขำอยู่ และเขมารดี มาสิงบุญ. ปัจจัยทำนายความสามารถในการตัดสินใจของพยาบาลหัวหน้าเวรโรงพยาบาลเอกชน.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2561; 26(2): 49 – 56.

อุไรวรรณ แก้วเพชร พัทยา แก้วสารและบุญทิพย์ สิริธรังศรี. อิทธิพลของภาวะผู้นำแบบบริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 2562; 25(1): 108 – 22.

กองการพยาบาล. บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน; 2561.

กิตติทัช เขียวฉะอ้อน และ ธีระวัฒน์ จันทึก.การทำงานเป็นทีมสู่การเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 2560; 11(1): 355 – 70.

จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์และรักชนก คชไกร. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่คัดสรรสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34(3) : 195 – 202.

วรางคณา ชนะเคน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มเจนวายในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. [การค้นคว้าอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-31