แนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในช่วงการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบนิวนอร์มอล จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และประเมินผลแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในช่วงการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบนิวนอร์มอล จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้สูงอายุ จำนวน 420 คน (2) บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 24 คน และ(3) ผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 12 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) นครราชสีมาเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกระจายตัวเกือบทุกอำเภอ โดยพฤติกรรมของผู้สูงอายุในการป้องกันตนเอง ส่วนใหญ่ใส่หน้ากากอนามัย ขณะออกนอกบ้าน ล้างทุกครั้งก่อนหยิบจับสิ่งของ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นอย่างดี (2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานมี 5 ปัจจัย  ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ภาคเครือข่าย ผู้สูงอายุ ครอบครัว และบุคลากรทางการแพทย์ โดยมีการดำเนินงานตามกระบวนการวงจร PDCA ได้แก่ การวางแผน ดำเนินการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประมวลผลข้อค้นพบ ปรับปรุงข้อค้นพบ (3) การประเมินผลแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุภายใต้ SFname model สามารถใช้งานได้จริง มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในบริบทที่ใกล้เคียงจังหวัดนครราชสีมาได้ ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

References

อมร ลีลารัศมี. ความรู้ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สำหรับแพทย์. [ออนไลน์]. (2560). [สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564]. แหล่งข้อมูล : https://www.idthai.org/Contents/ Views/?d=4bl1!31!2!!634!nNI3v2cL

ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา. [ออนไลน์]. (2563). [สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564]. แหล่งข้อมูล : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no7-100163.pdf

Cowgill, D. O. Aging around the world, Belmont, CA: Wadsworth; 1986.

ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) จังหวัดนครราชสีมา. รายงานสถานการณ์การตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19). นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำเนาอัด; 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ผู้สูงอายุ. นครราชสีมา. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำเนาอัด; 2564.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2007.

Yamane, T. Statistic: An Introductory Analysis. 3 rd ed. New York : Harper and Row; 1973.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ นภชา สิงห์วีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(2): 25 – 36.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. PDCA เครื่องมือในการจัดการคุณภาพ. [ออนไลน์]. (2560). [สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564]. แหล่งข้อมูล : http://psdg.mnre.go.th/ ckeditor/upload/ files/id147/KM/PDCA_28_29_ก_ย_2560 _กพร _ทส.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27