การประเมินผลลัพธ์โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยใช้แนวคิดการวิจัยประเมินผลเชิงปฏิบัติการ

ผู้แต่ง

  • นพพงษ์ พงศ์เลิศโกศล

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, การวิจัยประเมินผลเชิงปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินผลลัพธ์โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานโดยใช้แนวคิดการวิจัยประเมินผล   เชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์การดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง ธันวาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกการประชุม และแบบสอบถาม เก็บข้อมูล 2 ครั้ง ก่อนและหลังการดำเนินงาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลจากแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา  เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้ เจตคติและพฤติกรรมด้วยสถิติวิเคราะห์ Paired t-test

               ผลการวิจัย พบว่า หลังการดำเนินงานกลุ่มเสี่ยงมีระดับน้ำตาลลดลงเป็นกลุ่มปกติ 9 คน อยู่ในระดับเสี่ยง 21 คน และ 1 คนระดับน้ำตาลไม่เปลี่ยนแปลง นอกนั้นระดับน้ำตาลลดลงทั้งหมด ข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.7) อายุระหว่าง 55-64 ปี (ร้อยละ 43.0) จบชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 63.3) อาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 63.3) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 2,001 – 6,000 บาท (ร้อยละ 36.7) มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 16.7) ส่วนใหญ่เป็นไขมันสูง (ร้อยละ 6.7) ญาติสายตรงป่วยเป็นโรคเบาหวาน (ร้อยละ 20.0) โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 20.0) เป็นทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 23.3) รอบเอวเฉลี่ย 70 – 85 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 64 - 79กิโลกรัม ระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 102 ถึง 122 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก่อนการเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ83.3) ค่าเฉลี่ยด้านเจตคติต่อโรคเบาหวานอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 53.3) ค่าเฉลี่ยด้านพฤติกรรมอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 76.7)  หลังเข้าร่วมโครงการมีค่าเฉลี่ยความรู้ระดับปานกลาง (ร้อยละ 86.7) ค่าเฉลี่ยด้านเจตคติระดับต่ำ (ร้อยละ 46.7) และค่าเฉลี่ยด้านพฤติกรรมระดับสูง (ร้อยละ 40.0) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้ เจตคติและพฤติกรรม ก่อนและหลังโครงการ พบว่า ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรม หลังเข้าร่วมโครงการดีขึ้น (P-value 0.17,0.00 และ 0.00 ตามลำดับ)

References

World health organization. Health literacy. The solid facts. European journal of Public 2017; 24 :1880-87. 3. กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2559 โรคไม่ ติดต่อเรื้อรัง. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.thaincd.com.

กรมควบคุมโรค. เตือนประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว ระวังป่วย โรคเบาหวาน. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://pr.moph.go.th.

สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, สำนักงาน. สรุปรายงาน 43 แฟ้มของหน่วยบริการ. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http:// www. korathealth.com/korathealth/index.php

สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, สำนักงาน. สรุปรายงาน 43 แฟ้มของหน่วยบริการ. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:http:// www.korathealth.com/korathealth/index.php

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนัก โรคไม่ติดต่อ. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและ ควบคุมโรคไม่ติดต่อ ระดับชาติ 5 ปี(พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด ; 2560.

กัลยา ท้วมโคกหม้อ. ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2564 . [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 5 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.tako.moph.go.th

เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2561; 8(1) (มกราคม- มิถุนายน 2561) : 45 – 58.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. การติดตามประเมินผลด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ, สำเนา เอกสารประกอบการอบรมทีมสนับสนุนวิชาการ; 2564.

กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสุขศึกษา. โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ด้าน สุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตรายใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท 25 มีเดีย จำกัด; 2563.

Nutbeam D, McGill B, Premkumar P. Improving health literacy in community population: a review of progress. Health Promotion 2017; 33(5) : 901 - 11.

ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศ ไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2560.

วิรยุทธ สนธิเมือง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มชาวเลอูรักลา โว้ย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2565; 5(2)มกราคม – มิถุนายน 2565: 68 – 78.

ชนินาถ สงวนวงศ์วิจิตร. วิธีดำเนินงานวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.

Best, John. Research in Education. New Jersey:Prentice Hall, Inc; 1977.

ขวัญเรือน กำวิตู๋ และ ชนิดา มัททวางกูร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดของผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยสยาม. วารสารพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม 2562; 20(38) : 83 – 4.

ธีรภาพ เสาทอง. ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563; 36(3) กันยายน - ธันวาคม 2563 : 19 – 32.

อ้อมฤทัย มั่นในบุญธรรม. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2562; 1: 121 – 32.

ราตรี ทองคำ. ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่2 จังหวัดลพบุรี. Singburi Hospital Journal 2565; 30(3) มกราคม – เมษายน 2565: 86 – 99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07