ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 5 อ. สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ภาดล จันทพรม
  • สุมัทนา กลางคาร
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์

บทคัดย่อ

การดูแลผู้สูงอายุติดบ้านในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อป้องการติดเชื้อ อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดการถดถอยของร่างกายและสมองเนื่องจากการเก็บตัวอยู่บ้านเป็นเวลานาน การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ตามหลัก 5 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ เอนกายพักผ่อน และออกห่างสังคมนอกบ้าน)  กลุ่มตัวอย่างที่คือ ผู้สูงอายุติดบ้าน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์  เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบ สัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเอง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 และ .82 ตามลำดับ การวิเคราะห์เปรียบเทียบผล การทดลองใช้สถิติ t-test

ผลการวิจัย พบว่า  กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการปฏิบัติตัวหลังการทดลองมากกว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และมีพฤติกรรมสุขภาพหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนภายหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) 2. พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ภายหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุภายหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์โรคประจำปีงบประมาณ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Eliopoulos, C. Gerontological nursing (9th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins; 2018.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [ออนไลน์]. (2563). [สืบค้น เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563]. สืบค้นได้จาก http://covid19 .anamai.moph.go.th/

Pender, N. J. Health Promotion in Nursing Pratice. Stamford : Appleton and Lange; 1996.

สถิตย์ พงษ์เจตสุพรรณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา : มหาวิทยาลัยพะเยา; 2558.

ธนายุส ธนธิติ และกนิษฐา จำรูญสวัสดิ์. การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2558; 35(3): 57.

Becker, M.H. The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Health Education Monographs 1974; 2 : 324- 508

Fishbein, M., & Ajzen, I. Belief, Attitude, Intention, and Behavior: An Introduction to Theory and Research. Reading, MA: Addison-Wesley; 1975.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-31