การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงสำหรับนักศึกษาพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ คำสวาสดิ์ -
  • วิไลลักษณ์ เผือกพันธ์

คำสำคัญ:

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงสำหรับนักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ ขั้นกระบวนการ (the process) และผลผลิต (product) ขั้นกระบวนการ (the process) ใช้ฐานข้อมูล Google และ Google Scholar เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565 และวันที่14 มกราคม 2566 คำสำคัญ (key word) คือ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง นักศึกษาพยาบาล และSBL ผลผลิต (product) พบเอกสารเกี่ยวข้อง 22 เรื่อง ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ.2559 – 2564 เป็นบทความวิชาการ 9 เรื่อง และงานวิจัย 13 เรื่อง เป็นภาษาไทย 11 เรื่องและภาษาอังกฤษ 2 เรื่อง ใช้เกณฑ์ Joanna Briggs Institute (JBI) แบ่งระดับ พบว่าจำนวนวรรณกรรมที่นำมาทบทวนนั้นบทความวิชาการ จำนวน 9 เรื่อง มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ 4 ส่วนงานวิจัยจำนวน 13 เรื่อง มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ 2

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับความหมาย ขั้นตอนการจัดการเรียนสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง และผลลัพธ์ที่เกิดต่อนักศึกษาพยาบาล เช่น ทักษะการปฏิบัติการพยาบาล ความมั่นใจในตนเอง และความรู้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอาจารย์พยาบาลที่ต้องพัฒนาวิธีการสอน เพื่อให้มีความทันสมัยต่อสถานการณ์ปัจจุบัน จากการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้พบว่างานวิจัยส่วนใหญ่ศึกษาผลของการจัดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงต่อนักศึกษาพยาบาล พบเป็นส่วนน้อยในเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงให้เป็นรูปแบบของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งประเด็นนี้เป็นจุดที่ท้าทายสำหรับการวิจัยในโอกาสต่อไป

References

ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์. การสอนโดยการจำลองสถานการณ์เสมือนจริงในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560; 9: 70 – 84.

รังสรรค์ มาระเพ็ญ. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลอนามัยชุมชน [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนาศึกษา] บัณฑิตวิทยาลัย กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.

ธานี กล่อมใจ สมัยพร อาขาล สมศรี ทาทาน ทักษิกา ชัชวรัตน์. การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียน การสอนแบบสถานการณ์จำลอง. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา 2562; 21: 149 – 65.

วรรวิษา สำราญเนตรและนิตยา กออิสรานุภาพ. ศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนแบบใช้สถานการณ์จำลองในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2562; 22: 64 – 75.

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง วิรดา อรรถเมธากุล รัตนา นิลเลื่อม นาตยา วงศ์ยะรา. ผลการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลและความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4: 178 – 94.

วันดี แก้วแสงอ่อน อุทุมพร ดุลยเกษมสุทัศน์ เหมทานนท์. การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง จากห้องเรียนสู่การเรียนรู้ด้วยโปรแกรมออนไลน์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2564; 8: 96-111.

อัจฉรา คำมะนิตย์ มัลลิกา มากรัตน์. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: วิธีการปฏิบัติทีละขั้นตอน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3: 246 – 59.

สุพรรณี กัณหดิลก และตรีชฎา ปุ่นสําเริง. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง : การออกแบบการเรียนรู้ทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2559; 9: 1 – 14.

วงเดือน สุวรรณคีรี, อรพิน จุลมุสิ และฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. การจัดการเรียนการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองสำหรับนิสิตนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2559; 28 : 1 – 13.

สุรชาติ สิทธิปกรณ์ อภิญญา คชมาตย์ สุรพันธ์ สืบเนียม จารุรินทร์ พงศ์ประเทศ อุไร จำปาวะดี วสันต์ แก้วเกลื่อน โสรัจญา สุริยนต์ นิตยา สุทธยากร. ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยหุ่นจำลองเสมือนจริงต่อความมั่นใจในตนเองและพึงพอใจของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย 2560; 14: 600 – 09.

สมศรี ทาทาน วราภรณ์ ศรีจันทร์พาล. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2560; 23: 1 – 10.

มาลี คำคง และ ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองขั้นสูง: วิธีพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(พิเศษ): 332 – 44.

สมจิตต์ สินธุชัย และกันยารัตน์ อุบลวรรณ. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18: 29 – 38.

สิวาภรณ์ เจริญวงค์ ทิพย์ฆัมพร เกษโกมลอภิสิทธิ ตามสัตย์. ห้องเรียนเสมือนจริงกับ การเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19(2) : 121 – 28.

จินตนา ลี้ละไกรวรรณ ธรณิศ สายวัฒน์ สุมลชาติ ดวงบุบผา ปราณี แสดคง นวลใย พิศชาติ. การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562; 37: 6 – 11.

ชนิดา ธนสารสุธี ละมัด เลิศล้ำ สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์. การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลสุรินทร์ 2562; 9: 55 – 70.

ละมัด เลิศล้ำ, ชนิดา ธนสารสุธี, สุภาเพ็ญ ปานะวัฒนพิสุทธิ์ และ ชัชรีย์ บำรุงศรี. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562; 6(พิเศษ): 43 – 58.

ทิวา มหาพรหม. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ 2562; 1: 47 – 61.

เปศล ชอบผล งามนิตย์ รัตนานุกูล นฤมล พรหมภิบาล จิตรลดา สมประเสริฐและนิติบดี ศุขเจริญ. การจัดการความรู้พยาบาลศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริง. วารสารเกษมบัณฑิต 2563; 21: 193 – 210.

พัทธวรรณ ชูเลิศ มนัสชนกฑ์ กุลพานิชย์อ้อมใจ พลกายา รัชนี ครองระวะและหยาดชล ทวีนาวณิชย์ ศึกษารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงสำหรับนักศึกษาพยาบาลในยุคโควิด-19 วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2564; 8: 121 – 33.

พรรณทิพย์ ชับขุนทด ปรางทิพย์ ทาเสนาะเอลเทอร์ นุชมาศ แก้วกุลฑล รัชนี พจนา. ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความรู้ ความมั่นใจและความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29: 1062 – 72.

Sun-Nam, P., Min-Sun, C., Yoon-Young, H., Sun-Hee, K., & Sun-Kyoung, L. Effects of

Integrated Nursing Practices Simulation-Based Learning Training on Stress, Interest in Learning, and Problem-Solving Ability of Nursing Students. Journal of Korean Academic Fundamental Nursing 2015; 22: 424 – 32.

Ji Young, K. & Eun Jung, K. Effects of Simulation on Nursing Students’ Knowledge, Clinical Reasoning and Self-Confidence: A Quasi-Experimental Study. Korean Journal of A duly Nursing 2015; 27: 604 – 11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07