การศึกษาระดับความเครียดและแนวทางจัดการกับความเครียดของผู้ปกครองเด็กออทิสติก ที่เข้ารับการรักษาแผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • แสงนภา บารมี -
  • ทยาวีร์ จันทรวิวัฒน์

คำสำคัญ:

ระดับความเครียด, คำสำคัญ : ระดับความเครียด, แนวทางจัดการกับความเครียด, ผู้ปกครองเด็กออทิสติก, ผู้ปกครองเด็กออทิสติก

บทคัดย่อ

ออทิสติกเป็นความผิดปกติในเรื่องการติดต่อสื่อสาร ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในด้านพัฒนาการทางด้านสังคมและภาษา เด็กเหล่านี้ต้องคอยช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิตในผู้ปกครอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเครียดและศึกษาแนวทางจัดการกับความเครียดของผู้ปกครองเด็กออทิสติกที่เข้ารับ  การรักษาแผนก จิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กออทิสติกที่เข้ารับการรักษาแผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จำนวน 100 คน ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดระดับความเครียดกรมสุขภาพจิต (SPST-20) และแบบสอบถามการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.748  สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการแปลผลค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปกครองของเด็กออทิสติก ส่วนใหญ่มีความเครียดระดับสูง (ร้อยละ 46) รองลงมา มีความเครียดระดับปานกลาง (ร้อยละ 26)  มีความเครียดระดับรุนแรง (ร้อยละ 25) และมีความเครียดระดับน้อย (ร้อยละ 3) ผู้ปกครองของเด็กออทิสติกมีการจัดการกับความเครียด โดยมุ่งแก้ไขปัญหาและมุ่งแก้ไขอารมณ์ อยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.52 , SD 0.76) เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ผู้ปกครองจะพยายามหาวิธีในการแก้ไขปัญหานั้นหลากหลายวิธีและเลือกใช้วิธีที่เป็นไปได้มากที่สุดในการแก้ไขปัญหา และพยายามวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหานั้นอย่างรอบคอบเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นควรนำผลการศึกษาที่ได้ส่งต่อให้คณะเจ้าหน้าที่แผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ เพื่อนำไปวางแผนให้การช่วยเหลือผู้ปกครองเด็กออทิสติกต่อไป

References

สมัย ศิริทองถาวร. การศึกษารูปแบบการนำเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสซึมในระยะเริ่มแรกสำหรับเด็กไทยไปสู่การปฏิบัติงานในบริบทจริงของเขตสุขภาพที่ 1. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 21 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ HDC. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice .moph.go.th/hdc/reports/s_report_all.php?source=monitor/format1.php&id=01fc5 dff8cfce19fde7547ebf0d4fe74&selMoph=1&selDep=21008.

สถาบันราชานุกูล. ออทิสติก (AUTISTIC DISORDER). [ออนไลน์]. (2562) [เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https:/ /th.rajanukul.go.th

กาญจนา ข่มอาวุธ. ผลของโปรแกรม การเผชิญความเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวออทิสติกที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

Lazarus, R.S., & Folkman, S. Stress Coping and Appraisal. NewYork: Springer; 1984.

ธนวุฒิ คําประเทือง. ผลการศึกษาระดับความเครียดและแนวทางจัดการกับความเครียดของสมาชิกในครอบครัวนักเรียนออทิสติก. [วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2562.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเครียด กรมสุขภาพจิต (SPST-20). [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http:// envocc.ddc.moph.go.th./contents/view/697

Likert, S. New patterns of management. Nursing research 1981; 30 (2): 73 – 77.

ภูริทัต ศรมณี. การจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมของนักศึกษาวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2561.

ดวงใจ พันธภาค, ปรัชวิน จันทร์ศิริ. ระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบิดามารดาเด็กออทิสติกที่นำบุตรเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันราชานุกูล. จุฬาลงกรณ์-เวชสาร 2556; 2: 223 – 38

Al-Farsi O et al. Stress, anxiety, and depression among parents of children with autism spectrum disorder in Oman: a case–control study. Neuropsychiatric Disease and Treatment 2016; 12: 1943 – 951

นิธิสนี รุจิรังสีเจริญ และคณะ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2564; 66(1): 53 – 68.

Ciara Padden & Jack E. James. Stress among Parents of Children with and without Autism Spectrum Disorder: A Comparison Involving Physiological Indicators and Parent Self-Reports. Journal of Developmental and Physical Disabilities 2017; 29: 567 –86.

Mercer, R.T.. A theoretical framework for studying factor that impact on the maternal role. Nursing Research 1981; 24(4): 264 – 71.

ปวิดา โพธิ์ทอง. ความต้องการการได้รับการช่วยเหลือของมารดาเด็กออทิสติก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2559; 3: 16 – 25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07