การพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • สิวาพร พานเมือง
  • อักษราณัฐ สุทธิประภา -
  • วิไลลักษณ์ เผือกพันธ์

คำสำคัญ:

เบาหวานขณะตั้งครรภ์, พฤติกรรมการการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นโรคแทรกซ้อนทางอายุกรรมที่พบบ่อย และมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อโรครุนแรงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อมารดาและทารกในครรภ์ จึงมีความจำเป็นที่หญิงครรภ์จะต้องควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองของหญิงที่มีภาวะเบาหวาน  กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือน มกราคม 2565 – สิงหาคม 2565 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน และกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองจะได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการดูแลตนเอง จากผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คู่มือการดูแลตนเองสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของหญิงตั้งครรภ์ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.86  แบบบันทึก ระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที (Independent t–test)

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง ( gif.latex?\bar{x}= 54.93) สูงกว่ากลุ่มควบคุม ( gif.latex?\bar{x}= 49.75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.006) กลุ่มทดลองมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ( gif.latex?\bar{x}= -29.80) ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม ( gif.latex?\bar{x}= -8.60 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.030) ส่วนค่าระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c) ระหว่างกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า โปรแกรมการดูแลตนเองสามารถนำไปใช้กับหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเอง มีพฤติกรรมการควบคุมอาหารที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. หนังสือแนวทางเวชปฏิบัติโรคเบาหวาน 2560. ร่มเย็นมีเดียจำกัด; 2560.

สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี. สถิติเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์. [ออนไลน์]. (2565). [สืบค้น เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.idf.org/our-activities/care-prevention/gdm.html

ปิยฉัตร ปธานราษฎร์. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลระยอง . วารสารวิชาการโรงพยาบาลระยอง 2565; 20(37) : 1 – 12.

ปราณี สุวัฒนพิเศษ. ประสิทธิผลของแนวทางปฏิบัติการคัดกรองโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์; 2558 .

ชญาดา เนตรกร์กระจ่าง. การเสริมเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการภาวะเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์. วารสารศูนย์การแพทย์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2562; 36(2); 68 – 77.

กฤษณี สุวรรณรัตน์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562 .

ศิริลักษณ์ ถุงทอง, ทิพมาส ชิณวงศ์ และเพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม จากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2558; 35(1); 67 – 84.

Bandura, A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman; 1997.

Boonsatean W. Living with type 2 diabetes in a Thai population: Experiences and socioeconomic characteristics [Dissertation]. Malmö: Malmö University; 2016.

อังคณา ชูชื่น น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และวารินทร์ บินโฮเซ็น. ผลของโปรแกรมส่งเสริม การจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดในหญิงที่เป็นเบาหวานจากการตั้งครรภ์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557; 32 : 60 – 7.

Bahram, M., Azar, T., Roya, S., Seideh Fateme, M., & Ahmadreza, S. Self-management Intervention Program Based on the Health Belief Model (HBM) among Women with Gestational Diabetes Mellitus: A Quazi-Experimental Study. Intervention Based on Health Belief Model and Gestational Diabetes 2019; 22(4): 168 – 73.

Juan, J., & Huixia, Y.Prevalence, Prevention, and Lifestyle Intervention of Gestational Diabetes Mellitus in China. Interntional Journal of Environmental Research and Public Health 2020; 17(95); 1 – 14.

Shepherd E., Gomersall JC., Tieu J., Han S., Crowther CA., & Middleton P. Combined diet and exercise interventions for preventing gestational diabetes mellitus. [Online]. (2017). [cited 5 September 2022]. Available from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/ articles/PMC6485974/pdf/CD010443.pdf

พัชรี จันทอง. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการ ควบคุมอาหารของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2557; 37: 51 – 9.

นันนภัส พีระพฤฒิพงศ์ น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และอาภาพร นามวงศ์พรหม. ผลของโปรแกรมการจัดการ ตนเองต่อความรู้ กิจกรรม การดูแลตนเอง และค่าฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียง เหนือ 2555; 30: 98 - 105.

Jose Alberto, LA., Maria, GB., Joseba Aingerun, RS., Ana Isabel, CC., & Juan Manuel, CT. Physical Activity Programs during Pregnancy Are Effective for the Control of Gestational Diabetes Mellitus. Interntional Journal of Environmental Research and Public Health 2020; 17(51): 1 – 14.

เวรุกา พรกุณา และสร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. ผลของโปรแกรม ต่อความรู้ การควบคุมระดับน้ำตาล และการกลับมารักษาซ้ำของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32 : 135 – 42.

วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี สุนันทา ยังวนิชเศรษ และโสเพ็ญ ชูนวล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของหญิงตั้งครรภ์ที่เบาหวาน . วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562; 6(1) : 39 – 50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07