ผลการตรวจหาการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต ในผักผลไม้ เขตจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตคาร์บาเมต, ผักและผลไม้บทคัดย่อ
ผักและผลไม้ที่ใช้ปรุง ประกอบอาหารมีสารเคมีตกค้างเพิ่มขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมตในผักและผลไม้จังหวัดนครราชสีมา เก็บตัวอย่างผัก ผลไม้จากแปลงปลูก ร้านค้าในชุมชน และโรงครัวโรงเรียน ในพื้นที่ 16 อำเภอ ตัวอย่างผัก ผลไม้ ที่เก็บ จำนวน 1109 ตัวอย่าง แบ่งเป็นผัก 21 ชนิด ได้แก่ พริกสด มะเขือเปราะ กะเพรา แตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว ผักชี ต้นหอม ผักกาดขาว โหระพา คะน้า ผักบุ้ง บวบเหลี่ยม กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ขึ้นฉ่าย กระเทียม แครอท บร๊อกโคลี หอมแดง หอมหัวใหญ่ ผลไม้ 8 ชนิด ฝรั่ง กล้วย แก้วมังกร มะละกอ แตงโม แคนตาลูป มะม่วง และแอปเปิ้ล ตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีตกค้างด้วยชุดทดสอบ เอ็ม เจ พี เค ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทำงานด้วยหลักการยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ผลการทดสอบได้ถูกต้องร้อยละ 85 ให้ผลบวกลวงร้อยละ 15 ผลลบลวงร้อยละ 0 มีความจำเพาะ ร้อยละ 81 ความไว ร้อยละ 100 การวิจัยเป็นเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า ตัวอย่างผัก ผลไม้ จำนวนทั้งหมด 1109 ตัวอย่าง มีสารเคมีตกค้างในระดับปลอดภัยจำนวน 1085 ตัวอย่าง (ร้อยละ97.8 ของผักผลไม้ทั้งหมด) เป็นผัก ผลไม้ที่ปลูก จำหน่ายในร้านค้าชุมชน และโรงครัวโรงเรียน จำนวน 441, 369 และ 275 ตัวอย่าง ตัวอย่างผัก ผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยจำนวน 24 ตัวอย่าง (ร้อยละ 2.2 ของผัก ผลไม้ทั้งหมด) จำนวน 4, 13 และ 7 ตัวอย่าง ตามลำดับ ผักที่ตรวจพบว่ามีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยมากที่สุด คือ ต้นหอมสด (ร้อยละ3.50 ) รองลงมาคือ มะเขือเปราะ กระเทียมแห้ง หอมแดงแห้งหอมหัวใหญ่ ขึ้นฉ่าย กระหล่ำปลี กวางตุ้ง พริกสด (ร้อยละ 2.46,1.40,0.60,0.60, 0.54,0.33, 0.21,0.84 ตามลำดับ) ส่วนผัก ผลไม้ชนิดอื่น ตรวจพบสารเคมีกำจัดแมลงตกค้างอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตรวจสอบ เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีและสร้างความรอบรู้เรื่องอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค
References
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. สถานการณ์คาร์เบนดาซิมตกค้างในผักผลไม้. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 25 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://thaipan.org/topic/data
ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมี. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://thaipan.org/conference2020 -document
วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล. Carbendazim คาร์เบนดาซิม สารอันตรายต่อมนุษยชาติ. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// thaipan.org/conference2020-document
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. รายงานสรุปผลประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคและภัยสุขภาพ. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https:// ddc.moph.go.th/uploads/publish/1139520210507084901.pdf
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. รู้สู้มะเร็ง. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// www.nci.go.th/th/File_download/fight_cancer.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคและภัยสุขภาพ สำหรับแรงงานนอกระบบ ประจำปี 2563 . [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads /publish/1139520210507084901.pdf
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2565). [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps:// www.fda.moph.go.th/Pages/Document /StrategyPlan65.pdf
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมของจังหวัด “นครราชสีมา”. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 19 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps : //www.ldd.go.th/Agri-Map/Data/NE/ nma.pdf
วลัญช์ชยา เขตบำรุง และคณะ. สถานการณ์สุขภาพเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่ม T60.0 อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2563; 6(2) กรกฎาคม - ธันวาคม 2563 : 76 – 91.
Thoophom G, Sungvaranond B, Jiragobchaiyapong G, Atlsook K, Jongmevasana P. Test kit for rapid screening residues of pesticide in food. Bulletin of The Department of Medical Sciences 1998; 159: 273 – 87.
Thoophom G. GT pesticide test kit [online]. (2004). [cited 2015 May 6]. Available from: www.gttestkit.com/ checking_gt.pdf.
ธนพงศ์ ภูผาลี อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล มาลี สุปันตี. ความชุกของการมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักจากตลาดและห้างสรรพสินค้าในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วารสารเภสัชกรรมไทย 2559; 8(2) กรกฎาคม - ธันวาคม : 399 – 409.
เปรมกมล ภูแก้ว. การสำรวจผักและผลไม้อาหารกลางวันโรงเรียน โดยมูลนิธิการศึกษาไทย 2559. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก HTTPS://BIOTHAI. NET /NODE/30571
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว