อุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด ลักษณะทางคลินิก และการรักษาในทารกแรกเกิดที่คลอดในโรงพยาบาลปักธงชัย
คำสำคัญ:
ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด, ภาวะติดเชื้อในระยะแรกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด ลักษณะทางคลินิก และการรักษาในทารกแรกเกิดที่คลอดในโรงพยาบาลปักธงชัย ระหว่าง 1 มกราคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2565 เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนจำนวน 1,295 ราย เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงของมารดาและทารก อาการและอาการแสดงผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการให้ยาปฏิชีวนะ
ผลการวิจัย พบว่า ทารกแรกเกิดได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อ 79 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 61.00 รายต่อทารกเกิดมีชีพ 1,000 ราย เป็นการติดเชื้อระยะแรกร้อยละ 96.20 การติดเชื้อระยะหลังร้อยละ 3.80 ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 15.19 ขี้เทาปนในน้ำคร่ำร้อยละ 15.19 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยร้อยละ 12.66 คลอดฉุกเฉินนอกห้องคลอดร้อยละ 7.59 ถุงน้ำคร่ำแตกนานกว่า 18 ชั่วโมงร้อยละ 7.59 มารดามีไข้หลังคลอดร้อยละ 5.06 อาการทางคลินิกที่พบคือ หายใจลำบากร้อยละ 70.89 อาการทางระบบทางเดินอาหารร้อยละ 32.91 น้ำตาลในเลือดต่ำร้อยละ 30.37อุณหภูมิกายไม่คงที่ร้อยละ 18.98 อาการทางระบบประสาทร้อยละ 10.13 จุดเลือดออกร้อยละ 8.86 และระบบหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 7.59 พบผลเพาะเชื้อในเลือดขึ้นเชื้อ 2 ราย คิดเป็น ร้อยละ 2.53 เป็นเชื้อ Coagulase negative staphylococcus กลุ่มติดเชื้อระยะแรกรักษาด้วยยา ampicillin ร่วมกับ gentamicin กลุ่มติดเชื้อระยะหลังรักษาด้วยยา ampicillin ร่วมกับ gentamicin หรือ ampicillin ร่วมกับ metronidazole และ cefotaxime ร่วมกับ amikacin จากผลการวิจัยพบว่ายังมีอุบัติการณ์ทารกแรกเกิดติดเชื้อค่อนข้างสูง ดังนั้นควรมีแนวทางการดูแลมารดาและทารกที่มีปัจจัยเสี่ยง และแนวทางการวินิจฉัยร่วมกับการสังเกตอาการทารกแรกเกิดอย่างใกล้ชิด
References
Fuchs A, Bielicki J, Mathur S, Sharland M, Van Den Anker J. Antibiotic use for sepsis in neonate and children: 2016 evidence update. WHO Review; 2016.
King TL, Silverman NS, Turrentine M; Committee on Obstetric Practice. Committee Opinion No. 797: Prevention of group B streptococcal early-onset disease in newborn. Obstet Gynecol 2019; 135: e51– e72
Thatrimontrichai A, Khunnarakpong N, Tantichanthakarun P,et al. Neonatal Group B Streptococcus sepsis: A Multicenter study in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2017; 48(5): 1063 – 71.
American Academy of Pediatrics. Group b Streptococcal infections. In: Kimberlin DW, Brady MT, Jackson MA, Long SS,eds. Red Book: 2018 Report of the Committee on Infectious Diseases. 31st ed. Itasca, IL: American Academy of Pediatrics; 2018: 762 – 68.
Puopolo KM, Lynfield R, Cummings JJ; COMMITTEE ON FETUS AND NEWBORN; COMMITTEE ON INFECTIOUS DISEASE. Management of infants at risk for group B streptococcal disease. Pediatrics 2019; 144: e20191881
พรเพ็ญ มนตรีศรีตระกูล แสงแข ชำนาญวนกิจและปรียาพันธ์ แสงอรุณ. อุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในระยะหลังคลอด ลักษณะทางคลินิกและการรักษา ในทารกแรกเกิดที่คลอดในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารทหารบก 2547; 57: 237 – 44.
ยิ่งรัก ปึงวงศานุรักษ์. อุบัติการณ์ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด ลักษณะทางคลินิกและการรักษาของทารกแรกเกิดที่คลอดในโรงพยาบาลด่านขุนทด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 5 2552; 6: 9 – 18.
ศิริสุดา อัญญะโพธิ์. การติดเชื้อทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4 2558; 17: 174 – 82.
กิ่งกาญจน์ บุญพิมล. อุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด ลักษณะทางคลินิกและการรักษาในทารกที่คลอดในโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. ยโสธรเวชสาร 2558; 17: 79 - 87.
กัณณิกา อยู่มั่น. ลักษณะการติดเชื้อของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2564; 35: 1 – 15.
ปิยดา พรใหม่. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะติดเชื้อระยะแรกในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลปราสาท. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2564; 17: 56 – 73.
Higgins RD, Saade G, Polin RA, Grobman WA, Buhimschi IA, Watterberg K, et al. Chorioamnionitis Workshop Participants. Evaluation and management of women and newborns with a maternal diagnosis of chorioamnionitis: Summary of a workshop. Obstet Gynecol. 2016; 127: 426 – 36.
Heine RP, Puopolo KM, Beigi R, Silverman NS, El-Sayed YY; Committee on Obstetric Practice. Committee Opinion No. 712: Intrapartum management of intraamniotic infection. Obstet Gynecol 2017; 130: e95 –e101
Puopolo KM, Benitz WE, Zaoutis TE; COMMITTEE ON FETUS AND NEWBORN; COMMITTEE ON INFECTIOUS DISEASE. Management of neonate born at ≥ 35 0/7 week’ gestation with suspected or proven early-onset bacterial sepsis. Pediatrics 2018;142: e20182894.
Puopolo KM, Benitz WE, Zaoutis TE; COMMITTEE ON FETUS AND NEWBORN; COMMITTEE ON INFECTIOUS DISEASE. Management of neonate born at ≤ 34 6/7 week’ gestation with suspected or proven early-onset bacterial sepsis. Pediatrics 2018;142: e20182896.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว