ผลกระทบของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมาตรการของจังหวัดนครราชสีมาต่อการเข้ารับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อธิคม สงวนตระกูล

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ปลายปี 2562  มีผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ทั่วโลก รวมทั้งสิ้น 3.8 ล้านคน ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สะสมรวม 176 ล้านคนทั่วโลก ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ  หญิงตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังส่งผลระทบในมิติอื่น ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ในส่วนของผู้ให้และผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือผู้ให้บริการและผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อในเขตพื้นที่ 6 อำเภอ ของจังหวัดนครราชสีมา ที่มีนัดเข้ารับบริการกับทางโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ให้บริการมีการลดจำนวนวันให้บริการคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีการปรับตัวโดยใช้เทคโนโลยีสื่อสาร การรับยาที่ไม่ต้องมาคลินิก เพิ่มการส่งต่อผ่านสายด่วนเบาหวาน การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและบันทึกข้อมูลมีการทำกิจกรรมร้อยละ 50-75  สำหรับผู้รับบริการพบว่ามีการปรับตัวอย่างมากในการเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา (ช่วงระบาดรอบที่  1 ร้อยละ 60.4 ,ช่วงระบาดรอบที่  2  ร้อยละ 43.5) มีการนัดเหลื่อมเวลาและขยายเวลานัดผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ดีให้นานขึ้น (ช่วงระบาดรอบที่ 1 ร้อยละ 44.5, ช่วงระบาดรอบที่  2  ร้อยละ 50.4 ) ไม่พบปัญหาการขาดยาหรือเข้ารับยา  (ช่วงระบาดรอบที่  1 ร้อยละ 94.1, ช่วงระบาดรอบที่  2  ร้อยละ 92.6)  ผู้รับบริการได้รับผลกระทบอย่างมากในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินและการมาตามนัดแพทย์ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบอย่างมากในด้านอารมณ์ เศรษฐกิจและชีวิตประจำวัน

References

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph. go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

อมร ลีลารัศมี. ความรู้ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สาหรับแพทย์ [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 มกราคม 2564]. แหล่งข้อมูล : https://www. idthai.org/Contents/Views/ ?d=4bl1!31!2 !!634!nNI3v2cL

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครราชสีมา. สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคนา 2019 อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สานักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครราชสีมา; 2564.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ผลกระทบของ COVID-19 ต่อระบบบริกาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. ใน รายงานผลการทบทวนผลกระทบของ COVID-19 ต่อระบบบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตุลาคม พ.ศ. 2564. นนทบุรี:กลุ่มเทคโนโลยี และระบาดวิทยา กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2564.

Organization WH. Rapid assessment of service delivery for NCDs during the COVID-19 pandemic. [Online]. (2020). [18 June 2021]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/rapid-assessment-ofservice-delivery-for-ncds-during-the-covid-19-pandemic.

Clay JM, Parker MO. Alcohol use and misuse during the COVID-19 pandemic: a potential public health crisis? Lancet Public Health 2020;5(5):e259.

Zhao YM SY, Song WB, Li QQ, Xie H, et al. Follow-up study of the pulmonary function and related physiological characteristics of COVID-19 survivors three months after recovery. Clinical Medicine; 2020.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement; 1970.

Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity.[Online]. (1976). Cited May 19 , 2025)Available : https://files.eric.ed. gov/fultlext /ED121845.pdf. Retrieved Feb 3, 2018.

Medina, M. G., Giovanella, L., Bousquat, A., Mendonça, M. H. M. D., & Aquino, R. (2020). Primary healthcare in times of COVID-19: what to do?. Cadernos de Saúde Pública, 36, e00149720.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) สำหรับโรงพยาบาล. [Online]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://stopcovid. Anamai. moph.go.th/attach /w774/f20211 201211017_iXg45j3zsx.pdf

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. การดําเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563; 28(4) : 280 – 91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07