ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจร่วมกับการฝึกสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ แสงส่อง -
  • กุสุมา พลเยี่ยม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจร่วมกับการฝึกสติ, ภาวะซึมเศร้า, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มแบบวัดซ้ำ วัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจร่วมกับการฝึกสติ ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 1 เดือน (2) ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจร่วมกับการฝึกสติกับกลุ่มที่ได้รับ  การดูแลตามปกติ ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 1 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จำนวน 40 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จากนั้นจับคู่ด้วยระดับคะแนนภาวะซึมเศร้า เพศ แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (1) โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจร่วมกับการฝึกสติ (2) ประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (Beck Depression Inventory 1A[BDI-1]) เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Planned Comparisons กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจร่วมกับการฝึกสติ ในระยะหลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 1 เดือนลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (2) ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วย รคซึมเศร้าระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจร่วมกับการฝึกสติลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ ทั้งในระยะหลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 1 เดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ที่ระดับ .05

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เช็กด่วนโรคซึมเศร้า. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/ view.asp?id=27650.

World Health Organization. Depression: let’s talk. Bangkok: Department of Mental Health. Retrieved January 20, 2018, [Online]. (2018). [Cited 2021 February 2]. Available from: http://www.searo.who.int /thailand/news/technical-factsheet depression-thai.pdf?ua=1

กรมสุขภาพจิต. รายงานการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ปี พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก https:/ /thaidepression.com/www/report/main_ report/pdf/ahb-1219_mix_HDC.pdf

โรงพยาบาลลำลูกกา. เอกสารสรุปรายงานประจำปีงบประมาณ 2562. งานการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช โรงพยาบาลลำลูกกา ปทุมธานี; 2562.

ตฏิลา จาปาวัลย์. แนวคิดและทฤษฎีภาวะซึมเศร้าทางจิตวิทยา. วารสารพุทธจิตวิทยา 2560; 2(2) : 1 – 11.

วนิดา ฟักเล็ก. การลดภาวะซึมเศร้าด้วยโปรแกรมพฤติกรรมบำบัดแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ในผู้ป่วยโรคติดสุรา: กรณีศึกษาในโรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ พบ.ม. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.

Luthans, F.& Youssef, C.M. Emerging positive organization behavior. Journal of Management. 2007; 33: 321 – 49.

Grotberg, E. H. A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit, Bernard van leer foundation The Hague: The Netherlands;1995.

Hoare. Resilience in the Elderly. Journal of Aging Life Care. [Online]. (2015). [Cited 2021 February 10]. Available from http://www.aginglifecarejournal.org/resilience-in-the-elderly/

Geiger, P. J., et al. Mindfulness-Based Interventions for Older Adults: A Review of the Effects on Physical and Emotional Well-being. Mindfulness 2016; 7(2) : 296 – 307.

Fiske, A., Wetherell, J. L., & Gatz, M. Depression in older adults. Annual review of clinical psychology 2009; 5 : 363 – 89.

Splevins, K., Smith, A., & Simpson, J. Do improvements in emotional distress correlate with becoming more mindful? A study of older adults. Aging and Mental Health 2009; 13(3) : 328 – 35.

Segal Z.V., Williams J. M. G., and Teasdale J.D. Mindfulness-Based Cognitive Therapy for depression. New York : The Guilford Press; 2002.

ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. คู่มือสติบำบัด Mindfulness-Based Therapy and Counseling (MBTC). นนทบุรี : กรมสุขภาพจิต; 2559.

Polit, D. F., & Beck, C.T. Essentials of Nursing Research: Appraising Evidence for Nursing Practice. (8th Ed). Philadelphia: Lippincott Williams, & Wilkins; 2014.

มุกดา ศรียงค์. แบบประเมินซึมเศร้า Beck. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www. cumentalhealth.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539909307

อรุณลักษณ์ คงไพศาลโสภณ. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุ .วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

กันต์ฤทัย ปานทอง. ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจที่เน้นการฝึกสติ ต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07