ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กนกอร ผิวเพชร -
  • สุวิทย์ อุดมพาณิชย์
  • ประจักร บัวผัน

คำสำคัญ:

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การสนับสนุนจากองค์การ, การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 522 คน ได้จาก              การวิเคราะห์การถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 30 ธันวาคม 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

               ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จ การสนับสนุนจากองค์การและการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อ อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.16, S.D.=0.30), (gif.latex?\bar{x}=4.18, S.D.=0.34) และ(gif.latex?\bar{x}=4.42, S.D.= 0.46) ตามลำดับ โดยพบว่าภาพรวมปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การโดยรวมมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.576, p-value<0.001) และ(r=0.386, p-value< 0.001) ตามลำดับ ทั้งนี้พบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือด้านหน่วยงานสนับสนุนทุกระดับมีแผนงานสนับสนุน และการสนับสนุนจากองค์การด้านการบริหารจัดการมีผลและสามารถพยากรณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ได้ร้อยละ 61.1 (R2=0.611, p-value<0.001) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการประสานงานของเครือข่ายในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชน

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ มาตรฐานสุขาภิบาลและความปลอดภัยในโรงพยาบาล. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2557.

ชูชัย ศุภวงศ์ สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์และคณะ. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.

ทองหล่อ เดชไทย. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์; 2549.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนคราชสีมา. เอกสารรับการตรวจราชการรอบที่ 1 ปี 1/2565.นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เอกสารอัดสำเนา; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนคราชสีมา. ข้อมูลเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลชุมชน. นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เอกสารอัดสำเนา; 2564.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum; 1998.

สำเริง จันทรสุวรรณ, และสุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2547

Elifson, K.W., Runyon, R.P., & Haber, A. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. NewYork: McGraw-Hill; 1990.

วิลาสินี วงค์ผาบุตร และประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(3): 186 – 99.

เปรมากร หยาดไธสง และประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2565; 22(2): 175 – 88.

นภาจรัส พรมรี และประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 7. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย ขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(2): 179 – 91.

ปภินวิทย์ คำสมาน มกราพันธุ์ จูฑะรสก และประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(3): 223 – 35.

อิ่มฤทัย ไชยมาตย์ และประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(3): 172 – 85.

นัฐรินทร์ ช่างศรี และประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสําเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทํางานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(2): 166 – 78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22