ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในผู้สูงอายุ อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • มานะชัย จรูญไธสง Sukhothai Thammathirat Open University
  • ธีระวุธ ธรรมกุล
  • อารยา ประเสริฐชัย

คำสำคัญ:

แบบจำลองพรีซีด-โพรซีด, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรม การป้องกันโรคโควิด 19 และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในผู้สูงอายุ อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 363 คน ได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรการประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรที่แน่นอน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลในช่วงเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า  (1) ด้านปัจจัยนำพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง ทัศนคติเกี่ยวกับโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรควิด 19 อยู่ในระดับสูงการรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านปัจจัยเอื้อพบว่า ความสะดวกในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง อุปกรณ์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง ด้านปัจจัยเสริมพบว่า การรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง แรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับ  ปานกลาง และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ฐานะทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติ และการรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19

References

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/ covid 19-daily-dashboard/

ศูนย์โควิด-19 โคราช. สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดนครราชสีมา. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/covid 19 koratcenter/

ศูนย์โควิด-19 โคราช. สถานการณ์โควิด-19 อำเภอเมืองยาง. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://covid-19.nakhonratchasima.go.th /frontpage

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://statbbi. nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

นรลักขณ์ เอื้อกิจ และลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562; 1: 38 – 48.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model: HBM). [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https:// www .gotoknow.org/posts/611058

ชุลีกร ด่านยุทธศิลปะ. แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพทางการพยาบาล.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561; 2: 132 – 41.

Goleman, Daniel. Emotional Intelligence : Why It can Matter More Than IQ. New York : Bantam Books; 1995.

สิทธิชน จันทร์แพง.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของประชาชนอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี.วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม 2564; 3: 83 – 100.

ประศักดิ์ สันติภาพ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันไวรัสโคโรน่า 2019 ของผู้สูงอายุในชุมชนเสือใหญ่อุทิศ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ.วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 2565; 3: 72 – 84.

Ying Chen et al. Knowledge, Perceived Beliefs, and Preventive Behaviors Relatedto COVID-19 Among Chinese Older Adults: Cross-Sectional Web-Based Survey. JOURNAL OF MEDICAL INTERNET RESEARCH. J Med Internet Res 2020; 22(12): 1 - 16.

ประภัสสร เรืองฤๅหาร วรินท์มาศ เกษทองมา และวุธิพงศ์ ภักดกีล. พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ในจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 2 : 254 – 68.

Bloom, B. S. Human Characteristic and School Learning. New York : McGraw-Hill; 1976.

ตวงพร กตัญญุตานนท์ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2564; 1: 8 – 20.

ปิยะนันท์ เรือนคำ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่: กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565; 2: 247 – 59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22