การสำรวจการจัดการความเครียดของประชาชนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครที่เกิดจาก การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • ถกลรัตน์ ทักษิมา วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ 10210
  • พัฐคม อินทรกำธรชัย หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์บูรณาการ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ 10210
  • ไกรสร อัมมวรรธน์ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ 10210

คำสำคัญ:

ความเครียด, การจัดการความเครียด, โรค COVID-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและการจัดการความเครียด รวมถึงการหาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและการจัดการความเครียดของประชาชนวัยทำงานที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคระบาด COVID-19 ของกลุ่มตัวอย่างประชากรในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครจำนวน 407 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นค่าสถิติผลการวิจัย พบว่า ประชาการมีระดับความเครียดจากโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) อยู่ในระดับปานกลาง  และมีความกังวลมากที่สุดทางด้านความคุกคามซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านความท้าทายและด้านอันตราย/ความสูญเสีย ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง  ขณะที่ระดับการจัดการความเครียดในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ด้านการจัดการความเครียดโดยมุ่งแก้ไขปัญหา และด้านการจัดการความเครียดโดยมุ่งแก้ไขอารมณ์

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าประชาชนชาวกรุงเทพมหานครวัยทำงานที่มี (1) เพศ และระดับการศึกษาต่างกันพบว่ามีการจัดการความเครียดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) อายุต่างกันมีการจัดการความเครียดในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่มีการจัดการความเครียดโดยมุ่งแก้ไขอามรมณ์แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในคู่อายุ  26-35 ปี, 36-45 ปี (3) ประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกันมีการจัดการความเครียดในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  แต่มีการจัดการความเครียดด้านมุ่งแก้ไขอารมย์ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของคู่ (15,000-25,000 บาท, มากกว่า 25,000 บาท)  (4) ประชาชนที่ปฏิบัติงานในองค์กรที่กลุ่มอุตสาหกรรมต่างกันมีการจัดการความเครียดทั้งในด้านมุ่งแก้ไขอารมย์และมุ่งแก้ไขปัญหาในภาพรวม และรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (5) ประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครมีความเครียดและการจัดการความเครียดที่สัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง โดยเมื่อมีความเครียดก็จะมีวิธีการจัดการความเครียดตามมาซึ่งเป็นความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันคือถ้าเครียดมากขึ้นก็จะมีวิธีการจัดการความเครียดที่เพิ่มขึ้นตามมา    

References

รุ่งตะวัน ศรีบุรี. การแพร่ระบาดแบบวงกล้างของโรคโควิด-19 โดย Covid-19 superspreader. เชียงใหม่เวชสาร 2564; 60(3): 395 – 406.

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19). [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/index.php

สมรรจน์ สิ้มมหาคุณ. รู้หรือไหม ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จากโรค COVID-19 และไข้หวัดใหญ่เป็นกลุ่มเดียวกัน. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www. samitivejhospitals.com/ th/article/detail/COVID-19

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-2019), situation reports. [Online]. (2020). [Cited 2023 Apr 16]; Available from: https://www.who.int/emer gencies/diseases/novel-coronavirus2019/ situation-reports/

จรีพร จารุกรสกุล. COVID-19 และสุขภาพจิตในที่ทำงาน. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.wha-group.com/th/news-media /company-news/841/covid-19-

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ และลำพึง วอนอก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563, 4(2): 138 – 48.

อภิญญา อิงอาจ ณัฐพร กาญจนภูมิ และพรพรรณ เชยจิตร. ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบริหารธรุกิจเทคโนโลยี 2563; 17: 94 – 113.

อรรถพล ทองดี. การศึกษาผลกระทบจากโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงนโยบายการดำเนินงาน และความเครียด ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงาน : กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจค้าส่ง [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2564.

Ministry of Public Health. The situation of Colona virus in Thailand. [Online]. (2020). [Cited 2020 Apr 16]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/in dworld.php.

Ferrer R, Klein WM. Risk perceptions and health behavior. Curr Opin Psychol 2015; 5: 85 – 9.

Brook RH, Ware JE, Jr., Davies-Avery A, Stewart AL, Donald CA, Rogers WH, et al. Overview of adult health measures fielded in Rand's health insurance study. Med care 1979; 17 (7 Suppl): 1 – 131.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลการสำรวจ ภาวะการทำงานของประชากร เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2563.

Yamane, Taro. Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and Row; 1967.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. ระเบียบวิธีวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เฮาส์ออฟเคอร์มีสท์; 2547.

เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์ และสิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์. ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2563; 65(4): 400 – 8.

Islam, S. M. D., Bodrud-Doza, M., Khan, R. M., Haque, M. A., & Mamun, M. A. Exploring COVID-19 stress and its factors in Bangladesh: A perception-based study. Heliyon 2020; 6(7) : e04399.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 2551; 14(1): 135 – 50.

Lazarus, R. S., และ Folkman, S. Stress, appraisal, and coping: Springer publishing company; 1984.

ธนภัทร ชุมวรฐายี และกรเอก กาญจนาโภคิน. การจัดการความเครียดภัยพิบัติโรคระบาดไวรัสโควิด – 19 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก 2562-1-1_1607427300.pdf (ru.ac.th)

กิ่งกาญจน์ ไทยขวัญ. ปัจจัยส่งผลกระทบต่อความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของบุคลากรการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรีในสถานการณ์ โควิด-19. [วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2563.

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า ในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564; 29(1): 12 – 21.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล และ ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. การดูแลเฝ้าระวังวามเครียดในวัยรุ่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562; 6(2): 279 – 85.

ธงรบ เทียนสันติ์ สาวิตรี แย้มศรีบัว และวาทินี วิชัยขัทคะ. การจัดการความเครียดสำหรับสถานการณ์ Covid-19. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2564; 15(3): 453 – 66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22