การศึกษาแบบย้อนหลังเพื่อศึกษาลักษณะของการติดเชื้อโควิด 19 ในบุคลากร ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กรณีศึกษา ระหว่างปี 2564 - 2565

ผู้แต่ง

  • นันทนา พลสระคู
  • กิตติภูมิ สุวรรณโภคิน
  • ปณินันท์ ศรีนุชศาสตร์

คำสำคัญ:

การติดเชื้อโควิด-19ในบุคลากร, พฤติกรรมเสี่ยง, ปัจจัยการติดเชื้อโควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาสถานการณ์การติดโควิด-19 ในบุคลากร และการศึกษาพฤติกรรมของบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อ โควิด-19 รวมถึงการได้รับวัคซีน ส่งผลต่อการติดเชื้อโควิดหรือไม่ในการศึกษาครั้งนี้ได้รับ การสนับสนุนทุนจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2564 – พฤษภาคม 2565 โดยการใช้แบบคัดกรองเพื่อคัดแยกกระบวนการติดเชื้อทางเดินหายใจ  

ผลการวิจัย พบว่า พบบุคลากรที่ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งสิ้น จำนวน 285 คน  ซึ่งผู้ติดส่วนมากเป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 69.7 มีช่วงอายุ 45-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 22 รวมถึงมีการติดเชื้อจากการใกล้ชิดกับครอบครัวที่ติดเชื้อ คิดเป็นร้อยละ 63.5  สถานการณ์ติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาล อยู่ที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  คิดเป็นร้อยละ 6.71 รองลงมาคือแผนกศัลยกรรมและศัลยกรรมกระดูกและข้อ คิดเป็นร้อยละ 5.22 รองลงมาคือแผนกผู้ป่วยวิกฤตคิดเป็นร้อยละ 4.85 ซึ่งวิชาชีพที่มีการติดเชื้อ โควิด-19 มากที่สุดคือ พยาบาล  คิดเป็นร้อยละ 30.59 ผู้ช่วยพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 15.67  พนักงานช่วยเหลือผู้ป่วยคิดเป็นร้อยละ 12.68  แพทย์ คิดเป็นร้อยละ 3.73 ได้รับฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 กับการติดเชื้อโควิด-19 นั้นไม่มีความแตกต่างโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 (P>0.05) โดยมีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุดคือ กิจกรรมภายนอกโรงพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 51.11 รองลงมาคือการร่วมรับประทานอาหารร่วมกันในช่วงพักกลางวัน คิดเป็นร้อยละ 27.23 รองลงมาคือ การพูดคุยกันระหว่างการทำงานโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย คิดเป็นร้อยละ 20.52  และการปฏิบัติหน้าที่โดยการดูแลผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 1.19 พฤติกรรมเหล่านี้จึงเป็นเหตุผลให้การแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้ภายในโรงพยาบาล นอกจากนี้ พฤติกรรมที่มีความหละหลวมในการสวมหน้ากากอนามัย ยังมีการนำหน้ากากอนามัยลงมาอยู่ใต้จมูก ส่งผลให้การป้องกันไม่สามารถแสดงประสิทธิผลได้สูงสุด 

References

World Health Organization. Emerging diseases [ออนไลน์]. (2021). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http:// www.emro.who.int/health-topics/ emerging -diseases/index.html.

World Health Organization. Coronavirus Disease (COVID-19) [ออนไลน์]. (2022). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://covid19.who.int/.

Global Health Security Index. COVID-19 Disease. [ออนไลน์]. (2021). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.ghsindex.org/.

กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

Nguyen LH, Drew DA, Graham MSEt al. Risk of COVID-19 among front-line health-care workers and the general community: a prospective cohort study. Lancet Public Health. [Online]. (2020). [cited 11 June 2022]. Available form https://www. Thelancet.com/journals/lanpub/article /PIIS2468-2667 (20)30164-X/fulltext

รุจิภาส สิริจตุภัทร อมร ลีลารัศมี และนาวิน ห่อทองคำ. โควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564.

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี2565. ข้อมูลผลการตรวจพบติดเชื้อ COVID-19. การประชุมคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2565; 21 กุมภาพันธ์ 2565.โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี:นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2565.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี2564 (EOC). ข้อมูลผลการตรวจพบติดเชื้อ COVID-19. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประจำเดือน ธันวาคม 2564; 21 กรกฎาคม 2564.โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี:นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2564.

World Health Organization. Emerging diseases. [Online]. (2021) [cited 2022 June 11]. Available form http:/ / www. Emro .who .int/health-topics/emergingdiseases/index .html

ศศภัสส์ โกมล. รายงานผลการศึกษามาตรการด้านการบริหารจัดการองค์กร ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 กองโรคไม่ติดต่อ ปี พ.ศ. 2563. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish /116982021081808 4708.pdf

พระมหานภดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก. การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. [ปริญญานิพนธ์ ปริญญาพุทธศาสนามหาบัณฑิต]. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2560.

เสรีวรรณ เสรีรัตน์. การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา; 2552.

อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ. การเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน : การประยุกต์แนวคิด และทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข,คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

สุมาลี จุทอง. การจัดการภัยพิบัติโรคระบาด COVID-19 ในพื้นที่ชุมชนหมากน้อย. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http:// www3.ru.ac.th/mpaabstract/files/2562_ 1597737114_6114832048.pdf

สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์. ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึง เดือนธันวาคม 2564 เปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2565 ที่มีการระบาดของสายพันธุ์โอไมคร่อนเป็นหลักในพื้นที่. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22