กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้ในการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีหลังผ่าตัดใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดีผ่านผิวหนัง
คำสำคัญ:
มะเร็งท่อน้ำดี, การวางแผนจำหน่าย, กระบวนการพยาบาลบทคัดย่อ
โรคมะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทย พบอุบัติการณ์ การเกิดโรคในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สาเหตุหลักคือเกิดจากการติดพยาธิใบไม้ตับทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในท่อน้ำดีและเกิดเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในที่สุด การรักษาโรคนี้ในปัจจุบันจะพิจารณาตามระยะของโรค ซึ่งการรักษาหลักคือวิธีการผ่าตัด ส่วนในผู้ป่วยที่มะเร็งแพร่กระจายแล้วจะให้การรักษาโดยวิธีประคับประคองตามอาการเท่านั้น เช่น การใส่ท่อระบายน้ำดีในตับผ่านทางผิวหนัง (Percutaneous Transhepatic Biliary Drainage) การใส่ท่อระบายน้ำดีในตับผ่านทางผิวหนัง เป็นการรักษาที่สำคัญแบบประคับประคองที่ค่อนข้างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยระบายน้ำดีออกมาภายนอกร่างกายแต่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษาได้ เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะติดเชื้อในท่อทางเดินน้ำดี สายระบายเลื่อนหลุด และสายระบายอุดตัน ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วยส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น พยาบาลเป็นบุคลากรที่สำคัญมากต่อการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีทั้งขณะอยู่โรงพยาบาลและเตรียมตัวจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ดังนั้น หากมีการวางแผนจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ โดยการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยให้ครอบคลุมทุกมิติโดย การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอน ร่วมกับการวางแผนจำหน่ายในรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D อย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและแนวปฏิบัติการพยาบาลที่เหมาะสม อีกทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ภายหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้
References
อาคม ชัยวีระวัฒนะ เสาวคนธ์ ศุกรโยธิน อนันต์ กรลักษณ์ และธีรวุฒิ คูหะเปรมะ. แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษา โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2554.
วิไลลักษณ์ ภูจอมจิตฆ์. การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่มีความเสี่ยงสูง กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2564; 6(3): 35 – 42.
T. Peter Kingham, Victoria G. Aveson , Alice C. Wei, Jason A. Castellanos, Peter J. Allen, Daniel P. Nussbaum, Yinin Hu, Michael I. D’Angelica. Surgical Management of Biliary Malignancy. Curr Probl Surg 2021; 58(2): 1 – 96.
จินตนา กิ่งแก้ว พึงพิศ การงาม ณกานดา ยมศรีเคน และนงลักษณ์ สุวรรณกูฏ. บทบาทพยาบาล ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี. วารสารสุขศึกษา 2565; 45 (1) : 1 – 10.
ศรัญญา ประทัยเทพ และปริญญา ชํานาญ. มะเร็งท่อน้ำดี. สรรพสิทธิเวชสาร 2554; 32(1–3): 53 - 62.
รภัส พิทยานนท์ และคณะ. Problem based GI Case discussion วิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
สุรีย์พร ปุญญกริยากร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีที่ได้รับการใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556; 23 (1) : 70 – 9.
สุประกฤษฏิ์ ศรีษะเกต. การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่มีภาวะสายระบายน้ำดีอุดตัน โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก: กรณีศึกษา. วารสารการพยาบาลสุขภาพและสาธารณสุข 2565; 1(2) : 54 – 66.
เพ็ญประภา แต้มงาม สมปอง พะมุลิลา นฤมล สาระคำ และ ศิรินยา อินแพง. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการ บริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี ของประชาชนในตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 21(3): 74 – 85.
ชุติมา วัชรกุล กังสดาล สุวรรณรงค์ รัตนาภรณ์ ยศศรีและสุมาลี จันทลักษณ์. ผลการดำเนินงานจัดการเรียนการสอนหน่วย การเรียนรู้เรื่องพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตามมาตรการการส่งเสริมการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับระดับประถมศึกษาเขตสุขภาพที่ 7. วารสาร สคร. 9 2566; 29(1) : 80 – 94.
อภิชิต แสงปราชญ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งตับและมะเร็ง ท่อน้ำดีของประชาชน จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2553.
Karen T Brown 1, Anne M Covey. Management of malignant biliary obstruction. Techniques in Vascular and Interventional Radiology 2008; 11(1): 43 – 50.
ชัยสุนทร วิเศษนันท์. องค์ความรู้ : การเตรียมตัวผู้ป่วยและขั้นตอนการใส่ท่อระบายน้ำดีในผู้ป่วยภาวะท่อน้ำดีอุดตัน. จุลสารโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี 2556; 11( 50 ) : 1-16.
Ayla S. Turan, Sjoerd Jenniskens, Jasper M. Martens, Matthieu J. C. M. Rutten, Lonneke S. F. Yo,Marco J. L. van Strijen, Joost P. H. Drenth, Peter D. Siersema, & Erwin J. M. van Geenen. Complications of percutaneoustranshepatic cholangiography and biliary drainage, a multicenter observational study. Abdom Radiol (NY). 2022; 47(9): 3338 – 44.
ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ D- METHOD ต่อความ พึงพอใจและการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ. TUH Journal online 2561; 3(3) : 19 -27.
จินตนา กิ่งแก้ว และปวีณา จรัสเฉลิมพงศ์. กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในโพรงสมองร่วมกับมีภาวะน้ำคั่งในสมอง. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2564; 24(3) : 87 – 98.
ธิดารัตน์ เลิศวิทยากุลและลัดดา พลพุทธา. การใช้กระบวนการพยาบาลในการฝึกปฏิบัติงานบนคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. ว. บัณฑิตเอเชีย 2556; 8(2) : 76 – 88.
วันเพ็ญ พิชิตพรชัยและอุษาวดี อัศดรวิเศษ. การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง) พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546.
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดเก็บตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ประจำปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์ สื่อตะวันจำกัด; 2561.
กฤษดา แสวงดี และคณะ. แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย. กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2539.
สุธีร์ ธรรมิกบวร, การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย การปรับกระบวนทัศน์. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพลส จำกัด; 2554.
Christopher O Phillips. Comprehensive discharge planning with post discharge support for older patients with congestive heart failure: a meta-analysis. AMA. 2004 ; 291(11):1358 – 67.
จีรภา ณ พัทลุง. ผลการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดบวมตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D โรงพยาบาลพัทลุง .วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ 2563; 34(3): 86 – 101.
ขนิษฐา รัตนกัลยา นัทธมน วุทธานนท์ ลลิดา นพคุณ วันทนีย์ แสงวัฒนะรัตน์ และคณะ. ความต้องการในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยมะเร็งตับและ ท่อน้ำดีที่ได้รับการใส่สายระบายผ่านผิวหนังและเนื้อ ตับเข้าสู่ท่อน้ำดีและญาติผู้ดูแล. พยาบาลสาร 2564 ; 8 (3): 260 – 73.
อาดีละห์ สะไร. ผลของโปรแกรมการบูรณาการการวางแผนจำหน่ายร่วมกับประสบการณ์อาการต่อความสามารถในการจัดการอาการและสภาวะอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.[วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรการศึกษาปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตการพยาบาลผู้ใหญ่]. สงขลา : มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์; 2559.
รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม นงลักษณ์ ว่องวิษณุพงศ์ และสุดจิต ไตรประคอง. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสภาการพยาบาล 2557; 29(2): 101 – 13.
กมนวรรณ นิลเอกและรุ่งนภา จันทรา. ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย ต่อความสามารถในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 4 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 2562; 33(2): 143 – 56.
Young Ae Kim ,Hye Ri Choi Mingee Choi ,Ah Kyung Park ,Hye Ryun Kim , Chaemin Lee , Elim Lee ,Kyung Ok Kim ,Mi Young Kwak , Yoon Jung Chang So-Youn Jung . Examining the Effectiveness of the Discharge Plan Model on the South Korean Patients with Cancer Completed Cancer Treatment and Are Returning to the Community: A Pilot Study. International Journal of Environmental Research and Public Health 2023; 20(1) : 1-10.
Antoine Garnier, Nathalie Rouiller, David Gachoud, Carole Nachar, Pierre Voirol, Anne- Claude Griesser, Marc Uhlmann, Gérard Waeber, Olivier Lamy. Effectiveness of a transition plan at discharge of patients hospitalized with heart failure: a before-and-after study. ESC Heart Fail 2018; 5(4): 657 – 67.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว