การประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
คำสำคัญ:
การประเมินผล, ซิปโมเดล, การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน, การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19, คลินิกโรคเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ (2) เปรียบเทียบผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 3 ช่วงเวลา คือ ก่อน ระหว่าง และหลังประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย ศึกษาในประชากร 2 กลุ่ม คือ (1) คณะทำงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 43 คน และ(2) ผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกโรคเรื้อรัง ใช้ข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในระบบ HOSxP ของโรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5,550 คน โดยการศึกษาทั้งประชากร เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามครอบคลุมตามกรอบการประเมินซิปโมเดล แบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้ (1) ข้อมูลทั่วไป (2) ด้านบริบท (3) ด้านปัจจัยนำเข้า (4) ด้านกระบวนการ (5) ด้านผลผลิต และแบบบันทึกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยเบาหวานวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ โดยกำหนด ค่าระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า (1) ผลการประเมินระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบท อยู่ในระดับดี ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับปานกลาง และ (2) สถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานโดยเปรียบเทียบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 3 ช่วงเวลา คือ ก่อน ระหว่าง และหลังประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย พบว่า ผลการเปรียบเทียบระดับน้ำตาลปลายนิ้ว (FBS) และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ของผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 3 ช่วงเวลาไม่แตกต่างกัน แต่ผลการเปรียบเทียบอัตราการกรองไต (eGFR) ของผู้ป่วยเบาหวานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงระบบการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.
Faghir-Gangi, M., Moameri, H, Abdolmohamadi, N, & Nematollahi SH.The prevalence of type 2 diabetes in patients with COVID 19: a systematic review and meta-analysis. Via Medica 2020; 9(5) : 271 – 78.
ศศิธร ชิดนายี. การดูแลผู้เป็นเบาหวาน : บทบาทของพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2564; 13(1): 30 – 46.
ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์ และนัตยา ตั้งศิริกุล. ผลกระทบและการปรับตัวของนโยบายและระบบบริการสุขภาพ (ภาครัฐและเอกชน) สำหรับโรคไม่ติดต่อ (Health service response) ระหว่าง ช่วงการระบาดของ COVID-19 รอบแรกและรอบสอง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565) . กลุ่มพัฒนาความร่วมมือในประเทศและระหว่างประเทศ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2565.
Stufflebeam, D.L., et sl. Educational Evaluation and Decision Making. [Online]. (2023). [cited 9 July 2023] . Available from http://jfklib.oas.psu.ac.th
บุษกร สุขแสน. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการประเมินผลโครงการ. ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. เอกสารอัดสำเนา; 2556.
กนกพร สมพร. การประเมินผลการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2557; 7(2) : 52 – 58.
Best, John W.Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc; 1977.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูงวิถีใหม่แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางสำหรับผู้ปฏิบัติงาน. นนทบุรี : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.
ไพรินทร์ พัสดุ. การประเมินผลโครงการพัฒนาทักษะด้านการปฐมพยาบาฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานในประชาชน10 ล้านคน 10 ล้านไทยร่วมใจ CPR. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// www.niems.go.th
อัญญรัตน์ นาเมือง. การประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สาร เสพติดในโรงเรียน เทศบาลบ้านเขานิเวศน์ จังหวัดระนอง .วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2560; 4(2) : 51 – 8.
ปิยะวดี งามดี. การประเมินผลการส่งเสริมสุขภาพของชมรมผู้สูงอายุในเขตเมือง : นนทบุรี. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine 2563; 64(5) : 357 – 64.
สุภาวดี ศรีมันตะ. การบริหารค่าตอบแทนที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการสายงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์; 2560.
ประภา ราชา.การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโควิด-19. วารสารแพทย์ เขต 4-5 2020; 39(3) : 414 – 26.
สุทธิพร เทรูยา และคณะ. การประเมินผลโครงการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทางการพยาบาลโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มการพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร. วารสารกองการพยาบาล 2564; 41(1) : 39 – 53 .
อภิญญา เนียมเล็ก และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อ C0VID-19. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 9 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://data.ptho.moph.go.th
อำนาจ บุญเครือ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019โรงพยาบาลทองแสนขัน. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2พิษณุโลก 2565; 9(2) : 104 – 121.
ศรีสุดา งามขำและ บุญเตือน วัฒนกุล. การวิเคราะห์ผลกระทบของสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อระบบบริการสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศ. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// nursing.iserl.org/bcnsprnw/index.Php / researcher
ธัญพร จรุงจิต. ประสิทธิผลของการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบ Home Isolation โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.tako.moph.go.th/ librarybook/
พรศิลป์ แสนพรมและ วิชุลดา ชาลีเปรี่ยม. ผลของการมีส่วนร่วมจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:/ /r8way.moph.go.th/ r8way Newadmin
จันทร์โท ศรีนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการลดลงของอัตรา การกรองของไตอย่างรวดเร็ว ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง: การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2561; 41 (3) : 108 – 18.
นนทิยา สานสุวรรณ์ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงที่มี อัตราการกรองของไตลดลง ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองมะแซว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 3 (2 ) : 64 – 71
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว