การพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์แบบบูรณาการ ในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตในภาวะวิกฤต จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, บริการการแพทย์แบบบูรณาการ, ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต, ภาวะวิกฤตบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบ ประเมินผลรูปแบบบริการการแพทย์แบบบูรณาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตในภาวะวิกฤต ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยตามรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางแผน ขั้นที่ 2 การปฏิบัติ ขั้นที่ 3 การสังเกตผล ขั้นที่ 4 การสะท้อนกลับ โดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และ การสนทนากลุ่ม ดำเนินการวิจัยในพื้นที่อำเภอวังจันทร์ และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
ผลการวิจัย พบว่า ทั้งสองอำเภอให้ความสำคัญกับการจัดระบบบริการดูแลช่วยเหลือ นำส่งและรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตในภาวะวิกฤตว่าเป็นผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาระบบ ระบบบริการสุขภาพ ก่อนเกิดเหตุ มีการพัฒนาให้ อสม.และแกนนำชุมชน เฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เน้นถึงสัญญาณเตือนก่อนคลุ้มคลั่งและการใช้แบบประเมิน OAS มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นพี่เลี้ยง ระยะเกิดเหตุ มีแนวทางการประสานงานตั้งแต่ระดับชุมชน สายด่วน 191 และสายด่วน 1669 เพื่อร่วมปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุเป็นรายกรณีการนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลและ การเตรียมรับผู้ป่วย ณ ห้องฉุกเฉิน ไปจนถึงการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตในภาวะวิกฤตในสถานพยาบาล ระบบชุมชนจัดการตนเอง ชุมชนมีมาตรการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง จัดทำขั้นตอนการร้องขอความช่วยเหลือ เมื่อผู้ป่วยมีอาการคลุ้มคลั่ง อาละวาด ชุมชนเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจให้ ญาติและผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยงรับรู้ถึงสัญญาณเตือนก่อนเกิดอาการคลุ้มคลั่ง อาละวาด รวมไปถึงการติดตามการกินยา เยี่ยมบ้าน ดำเนินการบูรณาการตามแนวทางชุมชนเป็นฐาน (CBTx) และโครงการชุมชนยั่งยืน ลงพื้นที่ติดตามด้วยภาคีเครือข่ายสหวิชาชีพและเสริมพลังเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงหลีกเลี่ยงการกลับไปใช้สุราและสารเสพติด มีการนัดติดตามอย่างใกล้ชิดในกลุ่มที่ประเมินแล้วมีความเสี่ยงต่อการกลับไปใช้สารเสพติด โดยการ VDO call สอบถามและให้คำปรึกษา ให้กำลังใจโดยพยาบาลที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด; 2563.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบไร้รอยต่อและบูรณาการในพื้นที่. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2563.
ธีระ ศิริสมุด พรทิพย์ วชิรดิลก และอนุรัตน์ สมตน. การพัฒนารูปแบบระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบบูรณาการในพื้นที่. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(2) : 157 – 71.
จิรภา สุรเบญจวงศ์. โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตบุคลากรงานสุขภาพจิตจิตเวชและยาเสพติดในอำเภอเมืองจังหวัดระยอง. วันที่ 20 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ อำเภอเมืองจังหวัดระยอง; 2565.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบไร้รอยต่อ และบูรณาการในพื้นที่. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2563.
พรทิพย์ วชิรดิลก และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะด้านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินจิตคลุ้มคลั่งแบบบูรณาการในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2563.
Patton, Q.M. Qualitative evaluation and research methods. (2nd ed). Newbury Park, CA: Sage; 1990.
Strauss, A., Corbin, J. Basics of qualitative research: Techniques and procedures for developing grounded theory. (2nded). Thousand Oaks, CA: Sage; 1998.
นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ, พัชรินทร์ ชมเดช, สมชาย กาณจนสุต. การพัฒนาระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉินของโรงพยาบาลในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551;17(7) : 2089 – 101.
พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, อนุรัตน์ สมตน. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตที่เข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2561;32(2): 69 – 83.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว