ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนานโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุนันทา กาญจนพงศ์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การดำเนินนโยบาย “30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”, ข้อเสนอเชิงนโยบาย, การประเมินผล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรค ปัจจัยและองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินงาน (2) พัฒนาข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนานโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว (3) ประเมินผลข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนานโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในจังหวัดนำร่องระยะที่ 1 และระยะที่ 2 รวม จำนวน 8 จังหวัด จำนวน  48 คน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในแต่ละระดับ จำนวน 56 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน 4 จังหวัดนำร่อง จำนวน 1,325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม  การประชุมระดมสมอง และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) ทุกจังหวัดให้ความสำคัญในเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของหน่วยบริการทุกระดับ ปัญหาอุปสรรค เช่น การยืนยันตัวตนของประชาชนยังไม่ถึงเป้าหมาย เนื่องจากประชาชนบางกลุ่มยังไม่เห็นความสำคัญ เป็นต้น ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน เช่น การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการในทุกระบบที่สะดวกรวดเร็วมีประสิทธิภาพ เป็นต้น (2) การพัฒนาข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ ดำเนินการ วิเคราะห์ SWOT, SPIDER CHART, TOWS MATRIX  นำไปปฏิบัติในจังหวัดนำร่องระยะที่ 1 และระยะที่ 2  ติดตามกำกับ พัฒนาในระดับพื้นที่ ได้ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาฯ ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย โดยมุ่งหวังให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว  ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพ ซึ่งมี 8 ยุทธศาสตร์ มาตรการดำเนินการ จำนวน 33  มาตรการ และตัวชี้วัดในการควบคุมกำกับประเมินผล จำนวน 23 ตัวชี้วัด (3)  การประเมินผลยุทธศาสตร์ฯ พบว่าด้านความถูกต้องของยุทธศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.25, S.D = 0.54) ด้านความเหมาะสม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.20, S.D= 0.54) ด้านความเป็นไปได้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.41, S.D= 0.60)  ส่วนการประเมินผลความสำเร็จผลการดำเนินงาน 10 ด้าน พบว่ามีผลสำเร็จเพิ่มขึ้นในทุกด้าน ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา  30 รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ระดับประเทศ  เพื่อให้ทุกจังหวัดได้นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2560-2565 และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2564 กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2562 ใน ราชกิจจานุเบกษา. (ตอน 4ก). 6 ตุลาคม 2562 เล่ม 1, 2562.

โอภาส การย์กวินพงศ์. นโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว. พิมพ์ครั้งที่ 1กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข; 2567.

ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย และคณะ. การอุดหนุนและเฉลี่ยความเสี่ยงระหว่างสถานบริการในการเข้าสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะนำร่อง. พิษณุโลก : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2546.

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธ์. การศึกษานโยบายสาธารณะของไทยกรณีศึกษานโยบายการบริการกิจการบ้านเมืองที่ดี ในประมวลสาระชุดวิชานโยบายสาธารณะ หน่วยที่ 8 สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553

โชติกา คงพลิ้ว. ปัญหาและอุปสรรคใน การนำน โยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติของหน่วยบริการปฐมภูมิ ในเขตจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.

พงศ์วสิษฐ์ แก้วชัย และ ฐิติมา โห้ลำยอง. ความพึงพอใจต่อการให้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : กรณีศึกษาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารราชนครินทร์ 2560; มกราคม - มิถุนายน : 73 – 9.

นิชนันท์ สุวรรณกูฏ สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์ และเรืองศิลป์ เถื่อนนาดี. การรับรู้และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตบริการสุขภาพที่ 10. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2562; 13(3) : 339 – 49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01