การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ภายหลังการถ่ายโอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ, การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การประเมินผลบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ พัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ และประเมินผลระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ จำนวน 34 คน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในทีมสุขภาพปฐมภูมิระดับอำเภอ จำนวน 102 คน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในทีมสุขภาพปฐมภูมิระดับตำบล จำนวน 17 คน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในทีมสุขภาพปฐมภูมิระดับชุมชน จำนวน 17 คน และกลุ่มผู้รับบริการจากทีมสุขภาพปฐมภูมิ 5 กลุ่ม จํานวน 85 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม แบบแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แบบติดตามเยี่ยมพื้นที่ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลการประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ด้านบริบท ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.94, SD = 0.61) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.60, S.D. = 0.60) ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.64,S.D.= 0.58) ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 0.62, S.D. = 0.47) ในด้านอุปสรรค ได้แก่ ด้านบุคลากร กระบวนการทำงานในพื้นที่มีมากขึ้น บุคลากรไม่เพียงพอต่อการดําเนินงาน (2) การพัฒนารูปแบบระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิฯ ค้นพบปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย ต้องมีภาวะผู้นำที่แท้จริง สร้างคุณลักษณะที่มีความพร้อมต่อการพัฒนา ต้องมีการบริหารและการจัดการทีมสุขภาพปฐมภูมิอย่างเป็นระบบและบูรณาการ ต้องมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ต้องทำงานตามกระบวนการ โดยยึดแผนและเป้าหมายที่ตั้งไว้ และต้องมีรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดยรูปแบบการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ประกอบด้วย 1 เป้าหมาย 4 ด้าน 16 มาตรการ (3) การประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมยังอยู่ในระดับมาก (M = 4.07, S.D. = 0.49) และผลการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.29, S.D.=0.61) ข้อเสนอแนะ ควรสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพ ระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ และควรเพิ่มช่องการสื่อสารที่หลากหลาย
References
กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี : สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์สํานักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
ศุภชัย ยาวะประภาษ และปิยาภร หวังมหาพร. นโยบายสาธารณะ ระดับท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทจุดทองจำกัด; 2555.
สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. การสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2542-2543. กระทรวงสาธารณสุข. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2545.
ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล สุภา เพ่งพิศ สมชาย วิริดิรมย์กุล และคณะ. ติดตามประเมินผลนโยบายทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพฯ: สถานบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.
Stufflebeam, D.L. The relevance of the CIPP evaluation model for educational Accountability. Journal of research and Development in Education 1971; 5(1) : 19 – 25.
สำนักบริหารการสาธารณสุข สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team): ประชาชนอุ่นใจ มีญาติทั่วไทยเป็นหมอครอบครัว. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
Waltz, C. F., Strickland, O., Lenz, E. R., and Waltz, C. F. Measurement in nursing and health research. New York: Springer Pub; 2005.
กิตติคุณ บัวบาน. การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเครือข่ายเด็กไทยฟันดีตำบลขะเนจื้อ อําเภอระมาด จังหวัดตาก. วารสารทันตสาธาณสุข 2561; 23 (1) : 13 – 25.
รวีวรรณ ศิริสมบูรณ์, และณภัทรกฤต จันทวงศ์. การวิจัยประเมินผลโครงการระบบการดูแลระยะยาวสําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตําบลบ้านลํา อําเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24 (6) : 1075-85.
สมยศ ศรีจารนัย พิชญาภัสสร์ วรรณศิริกุล ปารณัฐ สุขสุทธิ์ และคณะ. การวิจัยประเมินผลการดําเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัว. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ :ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; (ม.ป.ป.).
นฤมล กมุทชาติ สงครามชัย สีทองดี และสุรพร ลอยหา. รูปแบบการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอําเภอ อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2558; 18 (3) : 183 - 93.
นฤมล บุญโสภิณ วรางคณา จันทร์คง และช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. การพัฒนารูปแบบทีมหมอครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ของตําบลวังสวาบ อําเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2561; 12 (1) : 172 - 80.
อุดม อัศวุฒมางกูร อารยา ประเสริฐชัย และช่อทิพย์ บรมธนะรัตน์. การประเมินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จังหวัดปทุมธานี; 2560.
อุดมลักษณ์ เวชชพิทักษ์ ศศิพร โลจายะ และดุจเดือน ตั้งเสถียร. การประเมินผลการดําเนินงานคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี ปีงบประมาณ 2560. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561; 8 (3) : 450 - 66.
ปิยะ เทพปิยวงศ์. แนวพัฒนาการดําเนินงานทีมหมอครอบครัวและความพึงพอใจของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการดูแลระยะยาว อําเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ.วารสารสุขศึกษา 2558; 38(130) : 1 – 15.
วัสนา ศรีวิชัย. การสํารวจการดําเนินงานคลินิกหมอครอบครัวในจังหวัดตาก :
ความคาดหวังการได้รับบริการสุขภาพและความพึงพอใจของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแล บูรพาเวชสาร 2561; 5 (1) : 64 – 82.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร ทัศนีย์ ญาณะ พฤกษา บุกบุญ และคณะ. ผลการสํารวจสถานการณ์การดําเนินงานและความคิดเห็นต่อนโยบายการพัฒนาทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว