การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ภายใต้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กวี ชิ้นจอหอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพ, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน สภาพปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (3) ประเมินผลรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพ ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ภายใต้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ (1) สาธารณสุขอำเภอที่มีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 27 คน และเป็นผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอด้านบริหารและผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอด้านวิชาการ จำนวน 54 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่มการสังเกตพฤติกรรมแบบไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนก     และจัดกลุ่มข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สามารถส่งคืนที่ดินและส่งคืนอาคารและสิ่งปลูกสร้างของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ่ายโอนฯ แก่กรมธนารักษ์ ได้เรียบร้อย จำนวน 42 แห่ง (23.07%) ส่วนการบริหารแผนงานด้านสุขภาพ ให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพประจำปีร่วมกันระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (2) การพัฒนารูปแบบฯ พบว่า สาธารณสุขอำเภอ มีบทบาทหน้าที่ บริหารจัดการด้านงบประมาณสุขภาพ, บริหารจัดการด้านบุคลากรสุขภาพ, บริหารจัดการด้านสินทรัพย์ พัสดุ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง,บริหารจัดการด้านระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข, บริหารจัดการด้าน          การส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรค,บริหารจัดการ  ด้านแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ, ประสานงานและการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่น, บริหารจัดการระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ,ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (3) การประเมินผลรูปแบบฯ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05, S.D. = 0.07) การประเมินผลสำเร็จจากตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านสาธารณสุข เช่น การเบิก-จ่ายงบประมาณของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทันเวลา มีผลงานเพิ่มขึ้นจาก 20 แห่งเป็นครบทุกแห่ง (ร้อยละ 100) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพ มีผลงานเพิ่มขึ้นจาก 19 แห่งเป็นครบทุกแห่ง (ร้อยละ 100 ) และหน่วยงานสาธารณสุขอำเภอผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานการพัฒนาระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน มีผลงานเพิ่มขึ้นจาก 25 แห่งครบทุกแห่ง (ร้อยละ 100)  ข้อเสนอแนะ คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ควรเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการสนับสนุนรูปแบบการบริหารทรัพยากรสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ในหลายๆ ด้าน ควรเพิ่มช่องการสื่อสารที่หลากหลาย และการสื่อสารสาธารณะที่มากขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี : สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) : สหพัฒน์ไพศาล ห้างหุ้นส่วนจำกัด; 2550.

ปฐม มณีโรจน์. สาธารณคดี : ภาครัฐในมุมมองกฎหมายการเมืองและการบริหาร.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุภาพรการพิมพ์; 2554.

ลือชัย ศรีเงินยวง และคณะ. การประเมินผลท้องถิ่นกับการพัฒนาระบบสุขภาพในบริบทการกระจายอำนาจ:การสังเคราะห์บทเรียนและข้อเสนอเชิงนโยบาย ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ; 2555.

ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา และคณะ.โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอและออกแบบเชิงนโยบาย การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด. นนทบุรี :สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ; 2564

วัลลภ ลำพาย และพันธ์เทพ วิทิตอนันต์. ความพร้อมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา; 2549.

วุฒิสาร ตันไชย. นโยบายสาธารณะ และการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ .กรุงเทพฯ : สำนักงานกระจายอำนาจด้านสุขภาพ, 2554.

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. ราชกิจจานุเบกษา. (ตอนที่ 114ก). 17 พฤศจิกายน 2542 หน้า 48 – 66. กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, 2542.

แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทำเนียบรัฐบาล; 2551.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา. (ตอนที่ 47ก).

สิงหาคม 2550 หน้า 115-116. กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา; 2550.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา.หน้า 115-116. กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา; 2560.

ศุภชัย ยาวะประภาษ และปิยาภร หวังมหาพร. นโยบายสาธารณะ ระดับท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทจุดทองจำกัด; 2555.

สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย. การเตรียมรับการถ่ายโอน รพ. สต.ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด. นนทบุรี : สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย; 2564.

สุระ วิเศษศักดิ์. Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ.49 อบจ เตรียมรับการถ่ายโอน รพ. สต.3.264 แห่ง. [ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org /content/2022/09/26078

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. รูปแบบโครงสร้างองค์การเพื่อรองรับการกระจายอำนาจของกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01