การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ในการป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การป้องกันการสูบบุหรี่, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, เครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่, การบริหารจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์การบริหารจัดการการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ในการป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (3) การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ในการป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักเรียนที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 420 คน (2) คณาจารย์ จำนวน 12 คน (3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 12 คน (4) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 9 คน (5) คณะกรรมการของโรงเรียน จำนวน 12 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า (1) ทั้ง 3 โรงเรียน จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร ได้รับงบประมาณสนับสนุนในรูปของการจัดโครงการ มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการสูบบุหรี่ให้กับนักเรียน และมอบหมายให้คุณครูผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยขอความร่วมมือจากเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ดำเนินงานร่วมกัน ขณะเดียวกันนักเรียนหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น (2) การพัฒนารูปแบบฯ ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องมีความชัดเจนในการบริหารจัดการการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียน ทั้งในด้านกำลังคน ด้านงบประมาณ ด้านวิธีการ และด้านการจัดการและควรเปิดโอกาสให้เครือข่ายสุขภาพเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน (3) การประเมินผลรูปแบบฯ การดำเนินงานภายใต้ K-YOUTH model โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก (=3.90, S.D. =.66) และมีความต้องการอยู่ที่ระดับมากที่สุด (=4.24, S.D. =.62) ส่วนผู้เกี่ยวข้องให้ความเห็นว่า สามารถใช้งานได้จริง มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในบริบทที่ใกล้เคียงจังหวัดนครราชสีมาได้ ข้อเสนอแนะ คือ โรงเรียนควรหามาตรการควบคุมการจำหน่ายบุหรี่ให้กับนักเรียนบริเวณโดยรอบโรงเรียน และควรเปิดโอกาสให้เครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่มีบทบาทในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น
References
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566 - 2570). กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ;2565.
กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ. สถานการณ์การสูบบุหรี่ของนักเรียน. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/otpc/
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ข้อมูลการสูบบุหรี่ของนักเรียน. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2566)
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass, 2007.
Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row; 1973.
นพรัตน์ สโมสร ณัฎฐามณี วงษ์กาวิน ชาติชาย ยืนยงพานิช และมรกต สมพันธุ์. ประสิทธิผล ของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ ของนักเรียนชายมัธยมศึกษา ตอนต้น ตำบลลานดอกไม้ จังหวัดกeแพงเพชร [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://mis.kpo.go.th/ tobekpp/download_attfile/file_2020090816 3304.pdf
ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล และ สันติ ทวยมีฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. นนทบุรี : กระทรวงสาะรณสุข; 2564.
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. การบริหารงานสาธารณสุข. นครปฐม : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560)
ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.prachasan.com/ mindmapknowledge/aic. html.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. PDCA เครื่องมือในการจัดการคุณภาพ. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://psdg. mnre.go.th/ckeditor/upload/files/id147/KM/PDCA_28_29_ก_ย_2560_กพร.ทส.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว