The Effects of an Empowerment Program on Self-Efficacy in Child Care and Satisfaction towards Nursing Service in Mothers whose Children are Undergoing Orthopaedic Surgery
Main Article Content
Abstract
Purpose: To study the effects of an empowerment program on perceived efficacy in child care and satisfaction in mothers with children undergoing orthopaedic surgery.
Design: Quasi-experimental research.
Methods: The sample comprised 32 mothers of pediatric patients undergoing orthopaedic surgery at Queen Sirikit Hospital, Chonburi Province. A convenience sampling with match-pairing by type of orthopaedic surgery was used. The sample was divided into control and experimental groups with 16 each. The control group received routine nursing care only. The experimental group received the empowerment program for four days. Data were collected using a demographic data recording form, the questionnaire of perceived self-efficacy in participation in the care of children undergoing orthopaedic surgery, and the questionnaire of maternal satisfaction towards nursing services. Data analysis was conducted by using t-test.
Main findings: After participating in the program, the experimental group had significantly higher scores of perceived self-efficacy (t = -9.843, p < .001) and significantly higher scores of maternal satisfaction toward nursing services (t = -5.171, p < .001), compared to the control group.
Conclusion and recommendations: The empowerment program for mothers helps improving perceived self-efficacy in child care and increasing satisfaction towards nursing services. Therefore, the implementation of the program in routinely nursing services should be promoted to further improve the quality of care in orthopaedic pediatric patients.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างพลังใจที่มีต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลบุตร และความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลในมารดาที่บุตรได้รับการรักษาทางศัลยกรรมกระดูก
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของผู้ป่วยเด็กที่มารับการรักษาทางศัลยกรรมกระดูก ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 32 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกและจับคู่ด้วยชนิดของการรักษาทางศัลยกรรมกระดูก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 16 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างพลังใจเป็นเวลา 4 วัน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการมีส่วนร่วมดูแลบุตรที่ได้รับการรักษาทางศัลยกรรมกระดูก และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อบริการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที
ผลการวิจัย: ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการดูแลบุตร สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -9.843, p < .001) และมีคะแนนความพึงพอใจของมารดาต่อบริการพยาบาล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -5.171, p < .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการสร้างพลังใจช่วยทำให้มารดามีการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการดูแลบุตร และความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรส่งเสริมการนำโปรแกรมการสร้างพลังใจไปประยุกต์ในการให้บริการพยาบาล กับมารดาของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการรักษาทางศัลยกรรมกระดูก เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเด็กศัลยกรรมกระดูกต่อไป
คำสำคัญ: การดูแลเด็ก การสร้างพลังใจ ศัลยกรรมกระดูก การรับรู้สมรรถนะของตนเอง
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.