Relationships among Information Needs, Information Received, Self-care Behaviors and Quality of Life in Hematologic Cancer Patients Receiving Chemotherapy
Main Article Content
Abstract
Purpose: To study information needs, information received, self-care behaviors, and quality of life as well as the relationships among these study variables in hematologic cancer patients receiving chemotherapy.
Design: Descriptive correlational study.
Methods: The sample included 86 patients with hematologic cancer who attended and received chemotherapy for their cancer at the outpatient clinic of a tertiary hospital in Bangkok. Data were collected using 1) personal demographic questionnaire, 2) information needs and information received questionnaire, 3) self-care behavior questionnaire, and 4) Functional Assessment of Cancer Therapy-General Form (FACT-G Thai version). Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman rank correlation coefficient.
Main findings: The subjects reported a high level of information needs with a moderate level of information received. Most participants reported a good level of self-care behavior and had a highly moderate level of quality of life. There was no statistically significant relationship of information needs, information received with self-care behavior, and quality of life. However, a significant relationship between self-care behavior and quality of life was found in hematologic cancer patients receiving chemotherapy (p < .05)
Conclusion and recommendations: This study indicated that cancer patients during treatment still received inadequate information based on their needs. These findings can be used as important data for nurses in developing educational intervention programs to serve patients’ needs that would promote their self-care behavior and quality of life in patients with hematologic malignancy while receiving chemotherapy.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความต้องการข้อมูล ข้อมูลที่ได้รับระหว่างการรักษา พฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษาต่างๆ ในผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์สหสัมพันธ์
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่มีอายุระหว่าง 18-75 ปี จำนวน 86 คนที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความต้องการข้อมูล และข้อมูลที่ได้รับ 3) แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง และ 4) แบบวัดคุณภาพชีวิต (FACT-G) ของผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการข้อมูลอยู่ในระดับมาก ข้อมูลที่ได้รับตรงตามความต้องการในระดับปานกลาง พฤติกรรมการดูแลตนเองส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี และมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางสูง ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างความต้องการข้อมูล ข้อมูลที่ได้รับ กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง และกับคุณภาพชีวิต แต่พบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยมะเร็งระหว่างการรักษายังได้รับข้อมูลไม่เพียงพอกับความต้องการผลการศึกษานี้อาจใช้เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับพยาบาลในการพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยเพื่อช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวระหว่างได้รับยาเคมีบำบัด
คำสำคัญ: ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยา ความต้องการข้อมูล ข้อมูลที่ได้รับ คุณภาพชีวิต พฤติกรรมการดูแลตนเอง
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.