Maternal Participation in Caring for a Premature Infant with Respirator

Main Article Content

Somsiri Rungamornrat
Waranuch Karnjanawanich
Utumporn Muangyoo

Abstract

Purpose: To describe perception, maternal participation in caring for preterm infant with respirator and related factors.

Design: Descriptive qualitative study.

Methods: Data collection was based on an in-depth interview of 10 mothers with preterm infants having intubation for at least 3 days and admitted in neonatal intensive care unit (NICU). Data were analyzed using qualitative content analysis.

Main findings: Mothers’ perception was divided into 2 main categories, one associated with “uncertainty of the baby’s life with special care need” and the other corresponding to the attempt to “finding causes of having preterm baby”. The mothers’ participatory activities were limited due to their infants’ conditions. Consequently, the participatory activities were grouped into 2 main categories: (i) “following nursing guidelines” including following general instructions (e.g., storing their breast milk for their child and touching their baby every time of their visit); (ii) “doing something arbitrarily” including mother’s own activities such as asking for information of their child and praying to the holy idols for their child’s recovery. An important factor that can either promote or deter the maternal participation was their spouses.

Conclusion and recommendations: Results from this study should assist nurses to gain an insight into maternal participation in caring for preterm infant with respirator and be useful in the implementation and evaluation plans for NICU nurses.

Keywords: maternal participation, premature infant, respirator

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพรรณนาการรับรู้ การมีส่วนร่วมของมารดา ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยยับยั้งในการดูแลบุตรเกิดก่อนกำหนดที่ต้องได้รับเครื่องช่วยหายใจ

รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

วิธีการดำเนินการวิจัย: สัมภาษณ์เชิงลึกมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและได้รับเครื่องช่วยหายใจมากกว่า 3 วัน ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต (NICU) จำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย: พบว่าการรับรู้ของมารดามี 2 ประเด็นหลักคือ มารดารับรู้ว่าชีวิตของบุตรไม่แน่นอน ต้องการการดูแลพิเศษ และพยายามค้นหาสาเหตุของการเกิดก่อนกำหนด ส่วนการมีส่วนร่วมของมารดาพบว่ากิจกรรมการมีส่วนร่วมของมารดาถูกจำกัดจากภาวะสุขภาพของบุตรทำให้กิจกรรมที่มารดากระทำมี 2 ประเด็นหลักคือ “ทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่” โดยมารดาจะปฏิบัติตามคำแนะนำในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น การลูบสัมผัสทารกและการบีบเก็บน้ำนมไว้สำหรับทารก และ “ปฏิบัติตามใจตนเอง” คือ กิจกรรมที่มารดาอยากปฏิบัติเอง เช่น การติดตามถามข้อมูลของบุตรทุกครั้งที่เข้าเยี่ยม และการเพิ่งพิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อขอพรให้บุตรหายโดยเร็ว และบิดาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมและยับยั้งการมีส่วนร่วมของมารดา

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดและต้องได้รับเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรพยาบาลในการนำไปใช้ในส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดา หรือการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับมารดาในการมีส่วนร่วม เมื่อทารกเกิดก่อนกำหนดต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ต้องได้รับเครื่องช่วยหายใจต่อไป


คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของมารดา การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด เครื่องช่วยหายใจ

Article Details

How to Cite
Rungamornrat, S., Karnjanawanich, W., & Muangyoo, U. (2012). Maternal Participation in Caring for a Premature Infant with Respirator. Nursing Science Journal of Thailand, 30(4), 49–60. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/10530
Section
Research Papers