Effects of the Mother-preterm Infant Preparation Program on Breastfeeding Self-efficacy and Sucking Quality
Main Article Content
Abstract
Purpose: To study the effects of a mother-preterm infant preparation program on the perceived breastfeeding self-efficacy of a mother as well as the sucking quality of preterm infant.
Design: Quasi-experimental research.
Methods: Through convenience sampling, 36 dyads of mothers and preterm infants aged 30 weeks post-conceptional age at the start of the study, in the Neonatal Intensive Care Unit, Bhumibol Adulyadej Hospital, were recruited. The study sample were divided in to a control group (n = 21) receiving the usual nursing care and an experimental group (n = 15) participating in the preparation program. Data were collected by using questionnaires including a demographic data interviewing form, the mother’s breastfeeding self-efficacy questionnaire, and the preterm infant’s sucking quality scale. Data analysis was conducted using t-test.
Main findings: The study findings revealed that the mothers’ breastfeeding self-efficacy scores in the experimental group were statistically higher than that in the control group (p < .001). As well, the preterm infants’ sucking quality scores in the experimental group were statistically higher than that in the control group (p < .001).
Conclusion and recommendations: The effects of the mother-preterm infant preparation program are supported in this study; therefore, it is recommended that the program should be applied to the routinely nursing practice for promoting the success of breastfeeding in preterm infants.
Keywords: breastfeeding, preterm infant, self-efficacy, sucking quality
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด ต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา และประสิทธิภาพการดูดนมแม่จากเต้าของทารกเกิดก่อนกำหนด
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุหลังปฏิสนธิ 30-32 สัปดาห์ ณ ขณะเริ่มทำการศึกษา ที่รับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวน 36 คู่ การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 21 คู่และกลุ่มทดลอง 15 คู่ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลประชากร แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา และแบบประเมินประสิทธิภาพการดูดนมของทารกเกิดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย: มารดากลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มทดลองสามารถดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาสนับสนุนผลของโปรแกรม จึงควรส่งเสริมการนำโปรแกรมการเตรียมความพร้อมมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดไปประยุกต์ในทางปฏิบัติการพยาบาล เพื่อส่งเสริมความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกเกิดก่อนกำหนด
คำสำคัญ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกเกิดก่อนกำหนด การรับรู้สมรรถนะของตนเอง ประสิทธิภาพการดูดนม
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.