Effect of Distraction Using Digital Game on Pain in Children Post Appendectomy 24 Hours

Main Article Content

Suchada Sunthornsirisap
Wanida Sanasuttipun

Abstract

Purpose: To compare pain scores in school-age children post appendectomy between the group receiving usual nursing care plus playing digital game (experimental group) and the group receiving usual nursing care (control group); and to study the pattern of pain in the children 15 minutes after playing digital game.

Design: Quasi-experimental study, the pretest-posttest control group design.

Methods: Fifty children between 7-15 years old receiving an appendectomy at a tertiary hospital were recruited using convenience sampling. The study subjects were divided into control and experimental groups with 25 each. The control group received the usual care for pain relief while the experimental group was distracted from pain by playing a digital game for 30 minutes. Data on demographic data recording form and the pain assessment scale were collected and analyzed using t-test.

Main findings: The result showed that after being distracted by the digital game, the mean pain score changes of the experimental group were significantly greater than that of the control group (t = 11.81, p < .001). It revealed that the distraction from the digital game could reduce pain in children post appendectomy.

Conclusion and recommendations: Pediatric nurses should apply distraction technique by using a digital game as an alternative method for pain reduction in children post appendectomy.

Keywords: appendectomy, digital game, distraction, pain, school aged children

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความปวดในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนหลังผ่าตัดไส้ติ่ง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับการเบี่ยงเบนความสนใจโดยให้เล่นเกมดิจิตอล กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และเพื่อศึกษารูปแบบความปวดของผู้ป่วยเด็กภายหลังการเล่นเกมดิจิตอลในระยะ 15 นาทีแรก

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง โดยศึกษาแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสะดวก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเด็ก 50 คน อายุระหว่าง 7-15 ปี ที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งในโรงพยาบาลศูนย์ระดับตติยภูมิ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการเบี่ยงเบนความสนใจโดยเล่นกมดิจิตอล 30 นาที ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินความปวด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที

ผลการวิจัย: หลังได้รับการเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้เกมดิจิตอล การเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดในกลุ่มทดลองมากกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 11.81, p < .001) แสดงว่า การเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้เกมดิจิตอลสามารถลดความปวดในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดไส้ติ่ง 24 ชั่วโมงได้

สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรส่งเสริมการนำเกมดิจิตอลมาเป็นทางเลือกหนึ่งในการเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อลดความปวดในผู้ป่วยเด็กภายหลังผ่าตัดไส้ติ่ง


คำสำคัญ: ผ่าตัดไส้ติ่ง เกมดิจิตอล การเบี่ยงเบนความสนใจ ความปวด เด็กวัยเรียน

Article Details

How to Cite
Sunthornsirisap, S., & Sanasuttipun, W. (2012). Effect of Distraction Using Digital Game on Pain in Children Post Appendectomy 24 Hours. Nursing Science Journal of Thailand, 30(4), 72–79. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/10540
Section
Research Papers