The Effect of Buddhist Personal Growth and Counseling Group Using Photo-Elicitation on PAÑÑĀ among Women with Post Breast Cancer Treatment

Main Article Content

Suleeporn Paramaputi
Nattasuda Taephant

Abstract

Purpose: This study aimed to examine the effect of Buddhist personal growth and counseling group using photo-elicitation on PAÑÑĀ among women with post breast cancer treatment.

Design: Quasi-experimental study with a pretest-posttest control group design.

Methods: Participants, 30 post breast cancer treatment women, were assigned into the experimental and control groups with 15 each. Participants in the experimental groups attended a Buddhist personal growth and counseling group using photo-elicitation program, whereas those in the control group engaged in their normal lifestyle and general discussion relax, then they were attended the program after the research procedure was completed. Prior to and after the experimental group’s attendance, they responded to demographic characteristics questionnaire and the PAÑÑĀ Scale. Data were then analyzed using descriptive statistics, dependent t-test and independent t-test.

Main findings: Findings revealed that the posttest score on the PAÑÑĀ Scale of the experimental groups was significantly higher than that of the control group (p < .05). For comparison within the experimental group, the posttest score was significantly higher than the pretest score (p < .01).

Conclusion and recommendations: The Buddhist personal growth and counseling group using photo-elicitation helps increase PAÑÑĀ, the understanding of the truth based on the Buddhist perspective, among women with post breast cancer treatment. Health professionals and related personnel should benefit from the current findings by applying the Buddhist personal growth and counseling group to enhance PAÑÑĀ in women with post breast cancer treatment.

Keywords: breast cancer, Buddhist counseling, photo-elicitation counseling

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธด้วยการใช้รูปภาพเป็นสื่อต่อปัญญาในสตรีหลังการรักษามะเร็งเต้านม

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีหลังการรักษามะเร็งเต้านม ที่คัดเลือกจากผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตน และการปรึกษาแนวพุทธด้วยการใช้รูปภาพเป็นสื่อ ขณะที่กลุ่มควบคุมดำเนินวิถีชีวิต สนทนาสังสรรค์กันตามปกติ จากนั้นจึงเข้าร่วมโปรแกรมฯ หลังเสร็จสิ้นกระบวนการวิจัย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดปัญญาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที

ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธด้วยการใช้รูปภาพเป็นสื่อ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนปัญญาสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนปัญญาหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)

สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธด้วยการใช้รูปภาพเป็นสื่อ สามารถทำให้สตรีที่ผ่านการรักษามะเร็งเต้านมมีความเข้าใจในความจริงหรือมีปัญญาเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นบุคลากรทางสาธารณสุขหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง จึงน่าจะได้รับประโยชน์จากการศึกษา หรือนำโปรแกรมไปปรับใช้ในการส่งเสริมหรือพัฒนาปัญญาให้แก่สตรีหลังการรักษามะเร็งเต้านม


คำสำคัญ: มะเร็งเต้านม การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธปัญญา การใช้รูปภาพเป็นสื่อในการบำบัด

Article Details

How to Cite
Paramaputi, S., & Taephant, N. (2013). The Effect of Buddhist Personal Growth and Counseling Group Using Photo-Elicitation on PAÑÑĀ among Women with Post Breast Cancer Treatment. Nursing Science Journal of Thailand, 31(1), 19–28. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/10549
Section
Research Papers