Knowledge, Attitude, and Practice of Breastfeeding Promotion among Nurses in Private Hospitals

Main Article Content

Suphunnika Panbangpra
Parnnarat Sangperm

Abstract

Purpose: This research aimed to study the relationship among knowledge, attitudes, and practice of breastfeeding promotion among nurses.

Design: Correlational study design.

Methods: The subjects were 86 nurses practicing in post-partum or nursery units in private hospitals in Bangkok. Data were collected using a personal information form, and a set of questionnaires including knowledge, attitude, and practice of breastfeeding promotion among nurses (α = 0.76, 0.73, and 0.94, respectively). Descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient were used for data analysis.

Main findings: The results revealed that the nurses’ knowledge on breastfeeding was at moderate level (X = 16.79 ± 2.833), attitude toward breastfeeding at high level (X = 4.00 ± .317), and practice on breastfeeding promotion at high level (X = 2.37 ± .484). The results also showed statistically significant positive relationship between attitude and practice of nurses in the promotion of breastfeeding (r = .295, p = .006), there was no relationships between knowledge and attitude, as well as knowledge and practice.

Conclusion and recommendations: Based on the results, a training for nurses on breastfeeding promotion should be supported on a regularly basis to increase their breastfeeding skills and expertise as well as to develop positive attitude toward breastfeeding.

Keywords: attitude, breastfeeding, knowledge, nurses, practice, private hospitals

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบศึกษาความสัมพันธ์

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยหลังคลอด หรือห้องเด็กอ่อนของโรงพยาบาลเอกชน ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 86 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (α = 0.76, 0.7 และ 0.94 ตามลำดับ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย: พยาบาลมีคะแนนความรู้ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับปานกลาง (X = 16.79 ± 2.833) คะแนนทัศนคติในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับสูง (X = 4.00 ± .317) และคะแนนการปฏิบัติในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับสูงเฉลี่ย (X = 2.37 ± .484) เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ พบว่า ทัศนคติของพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .295, p = .006) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ กับทัศนคติ และความรู้ กับการปฏิบัติในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรได้รับการอบรมความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดทักษะ ความชำนาญ และการปฏิบัติที่ถูกต้องในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเกิดทัศนคติเชิงบวกต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


คำสำคัญ: ทัศนคติ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความรู้ พยาบาล การปฏิบัติ โรงพยาบาลเอกชน

Article Details

How to Cite
Panbangpra, S., & Sangperm, P. (2013). Knowledge, Attitude, and Practice of Breastfeeding Promotion among Nurses in Private Hospitals. Nursing Science Journal of Thailand, 31(1), 70–79. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/10554
Section
Research Papers