ปกิณกะ บนเส้นทางแห่งการเรียนรู้: การออกแบบรายวิชา การสร้างเสริมสุขภาพ
Main Article Content
Abstract
ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2543 เป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของประเทศที่มีการปรับกระบวนการคิดใหม่ทางด้านสุขภาพที่มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ขานรับแนวนโยบายการสร้างสุขภาพดีให้กับคนไทย ด้วยการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและบรรจุรายวิชาใหม่ คือ การสร้างเสริมสุขภาพ ในชั้นปีที่ 2 เพื่อพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดใหม่และแนวปฏิบัติของการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการวางรากฐานในการสร้างต้นแบบพยาบาลที่มีสมรรถนะในการสร้างเสริมสุขภาพให้กับตนเองและประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่รับผิดชอบผู้เขียนไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าจะต้องเป็นผู้จัดทำเค้าโครงรายวิชานี้ เพราะเป็นอาจารย์มือใหม่มาก ไม่เคยทำมาก่อนทั้งรายวิชาทฤษฎีและปฏิบัติ เกิดอาการตื่นตระหนกและสับสน การที่ชีวิตต้องผกผันตกกระไดพลอยโจนมาเป็นครูพยาบาลก็สร้างความสับสนให้กับชีวิตมากพอแล้ว ยิ่งต้องมาทำรายวิชาที่ต้องสร้างให้เกิดความรู้ความเข้าใจพื้นฐานแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ให้กับนักเรียนพยาบาลที่มีจำนวนผู้เรียนเกือบ 300 คน จึงเป็นเรื่องที่เกินความคาดหมาย แต่ด้วยความเป็นคนที่ชอบทำในสิ่งที่ท้าทายจึงยอมเดินหน้าบุกตะลุยที่จะเรียนรู้ในการจัดทำรายวิชานี้ ต้องขอขอบคุณผู้บริหารหลายท่านในยุคนั้นที่คอยให้กำลังใจและสนับสนุนให้คำชี้แนะอย่างมีเมตตาธรรมมาโดยตลอด ให้โอกาสในการคิดและจัดทำกรอบเค้าโครงรายวิชาได้อย่างอิสระ จนสำเร็จลุล่วงสามารถเปิดให้มีการเรียนการสอนวิชานี้ได้ในปีการศึกษา 2542 โดยเป็นรายวิชาอยู่ในความรับผิดชอบของภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ เมื่อแผนงานพัฒนาเครือข่ายพยาบาลศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (พย.สสส.) เปิดให้มีช่องทางการสื่อสารผ่านการเล่าเรื่องเป็นตัวหนังสือจึงอยากบอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์ และแนวความคิดในการออกแบบรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.
References
World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion. 1986: WHO/HPR/HEP/ 95.1, Geneva.