ความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่ได้รับข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านสื่อต่างกัน

Main Article Content

แววตา ศรีทอง
สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง
พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องของมารดาที่ได้รับสื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ต


รูปแบบการวิจัย: การศึกษากึ่งทดลอง


วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดในหอผู้ป่วยสูติกรรมของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร จำนวน 75 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสื่อ 3 ประเภท คือ สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ และสื่ออินเทอร์เน็ต เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์สองชุด ถามเกี่ยวกับ 1) ข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก 2) ความคิดเห็นต่อการได้รับข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านสื่อ และความตั้งใจของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Kruskal Wallis test by ranks


ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า มารดาที่ได้รับสื่อบุคคล มารดาที่ได้รับสื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ต มีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องแตกต่างกัน (p < .05) และเมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่ามารดาที่ได้รับสื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ตมีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และมีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องนานกว่ามารดาที่ได้รับสื่อบุคคลเพียงอย่างเดียว


สรุปและข้อเสนอแนะ: มารดาที่ได้รับสื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ต มีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องนานกว่ามารดาที่ได้รับสื่อบุคคลเพียงอย่างเดียว ดังนั้น พยาบาลควรบูรณาการหลากหลายช่องทางและวิธีการในการให้ข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น การใช้สื่อหนังสือคู่มือ หรืออินเทอร์เน็ต ร่วมกับการให้คำแนะนำโดยพยาบาล ช่องทางหลากหลายจะช่วยเอื้ออำนวยให้มารดาได้รับข้อมูลที่ต้องการอย่างสะดวก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มารดามีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานขึ้น

Article Details

บท
รายงานการวิจัย

References

Jedrychowski W, Perera F, Jankowski J, Butscher M, Mroz E, Flak E, et al. Effect of exclusive breastfeeding on the development of children's cognitive function in the Krakow prospective birth cohort study. Eur J Pediatr. 2012;171(1):151-8. doi: 10.1007/s00431-011-1507-5.

World Health Organization. Breastfeeding [Internet]. Geneva: WHO; 2017 [cited 2018 May 30]. Available from: http://www.who.int/topics/breastfeeding/en/

Ajzen I. The theory of planned behavior. Organ Behav Hum Decis Process. 1991;50(2):179-211. doi: 10.1016/0749-5978(91)90020-T.

National Statistical Office of Thailand. Project for the survey of the situation of children and women in Thailand 2019, key summary report [Internet]. Bangkok: National Statistical Office; 2020 [cited 2021 Mar 15] Available from: http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาประชากร/สถานการณ์เด็กและสตรี/2562/MICS6_report_071063.pdf. (in Thai).

Apartsakun P. Discouraging factors of breastfeeding among Thai women. Journal of Public Health Nursing. 2016;30(2):133-46. (in Thai).

Wichianchai W, Limprapaipong T, Saowaros C. Factors influencing intention to exclusive breastfeeding for 6 months after giving birth of pregnant women attending antenatal care of Phra-Pok-Klao Hospital. Journal of Phrapokklao Nursing College. 2006;18(1):1-13. (in Thai).

Nakcharoen S. Communication patterns in public relations projects to promote breastfeeding [master’ thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2006. 195 p. (in Thai).

Chinnawon A. Public relations media. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2010. 373 p. (in Thai).

Sasombat P. Communication process of “Nommea Group” breastfeeding. Journal of Communication Arts. 2007;25(2):41-62. (in Thai).

Satawethin P. Mass communication: processes and theory. 3rd ed. Bangkok: Parbpim Printing; 2003. 280 p. (in Thai).

Hmone MP, Li M, Agho K, Alam A, Dibley MJ. Factors associated with intention to exclusive breastfeed in central women's hospital, Yangon, Myanmar. Int Breastfeed J. 2017;12:29. doi: 10.1186/s13006-017-0120-2.

Nguyen PH, Kim SS, Nguyen TT, Hajeebhoy N, Tran LM, Alayon S, et al. Exposure to mass media and interpersonal counseling has additive effects on exclusive breastfeeding and its psychosocial determinants among Vietnamese mothers. Matern Child Nutr. 2016;12(4):713-25. doi: 10.1111/mcn.12330.

Somanusorn M. The obstetrics nursing, volume 2. 12th ed. Nonthaburi: Yutharin Printing; 2015. 213 p. (in Thai).

Polit DF, Beck CT. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice. 9th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2012. 802 p.

Jirawatanakul A. Statistics for health science research. Bangkok: S Asia Place; 2015. 313 p. (in Thai).

Payakkaraung S, Sangperm P, Samart C. Breastfeeding problem in early postpartum period: mother’s experiences. Nursing Science Journal of Thailand. 2016;34(3):30-40. (in Thai).

Sitthichaiyuk W. Factors affecting determination to purchase dietary supplement products of undergraduate student at Burapha University, Chonburi Province [dissertation]. Chonburi: Burapha University; 2016. 143 p. (in Thai).