Factors Associated with Quality of 24 Hours Post Laparoscopic Surgical Recovery in Benign Gynecologic Patients
Main Article Content
Abstract
Purpose: To examine the correlations between severity of pelvic pain, preoperative hematocrit, intraoperative blood loss, duration of general anesthesia and quality of 24 hours post laparoscopic surgical recovery.
Design: A descriptive correlational study design.
Methods: The sample consisted of 126 benign gynecologic patients undergoing laparoscopic surgery, over 18 years of age, and admitted to a university hospital in Bangkok. Data were collected using demographic data records, health status records, pelvic pain and postoperative quality of recovery evaluation form (the Quality of Recovery-40; QoR-40). Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlations were employed for data analysis.
Main findings: Severity of pelvic pain, intraoperative blood loss and duration of anesthesia were significantly and negatively correlated with the quality of 24 hours post laparoscopic surgical recovery (r = - .30, p < .01, r = - .39, p < .01 and r = - .21, p < .05 respectively). Preoperative hematocrit was not correlated with the quality of 24 hours post laparoscopic surgical recovery (r = .06, p > .05).
Conclusion and recommendations: Nurses and healthcare providers should consider providing intervention to promote postoperative quality of recovery in patients with massive blood loss in order to promote better quality of postoperative recovery.
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการฟื้นตัว 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหน้าท้องในผู้ป่วยนรีเวชที่เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง
กัญญา แก้วมณี, ศิริอร สินธุ, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, ประสงค์ ตันมหาสมุทร
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของอาการปวดท้องน้อย ระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงก่อนการผ่าตัด ปริมาณการเสียเลือดระหว่างการผ่าตัด และระยะเวลาในการดมยาสลบกับคุณภาพการฟื้นตัว 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยนรีเวชที่เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงจำนวน 126 ราย อายุมากกว่า 18 ปี มารับการผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหน้าท้องในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูลภาวะสุขภาพ แบบประเมินอาการปวดท้องน้อย และแบบประเมินคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัย: ความรุนแรงของอาการปวดท้องน้อย ปริมาณการเสียเลือดระหว่างการผ่าตัด และระยะเวลาในการดมยาสลบมีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพการฟื้นตัว 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหน้าท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - .30, p < .01, r = - .39, p < .01 และ r = - .21, p < .05 ตามลำดับ)
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลและบุคลากรอื่นในทีมสุขภาพควรส่งเสริมคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัดอย่างมีแบบแผนในผู้ป่วยที่มีการเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดในปริมาณมาก เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัดที่ดียิ่งขึ้น
คำสำคัญ: ปริมาณการเสียเลือด การผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง คุณภาพการฟื้นตัว
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.