Personal Factors, First Feeding Time and Nurse Support in Predicting Successful Exclusive Breastfeeding at Discharge in Mothers with Cesarean Section
Main Article Content
Abstract
Purpose: The objective of this study was to investigate the predictive power of personal factors (age, previous breastfeeding experience, attitude toward breastfeeding and self-efficacy), first feeding time and nurse support on successful exclusive breastfeeding at discharge in mothers with cesarean section.
Design: Predictive research design.
Methods: The subject consisted of 110 mothers with cesarean section in postpartum units at Siriraj Hospital. Data were collected by the personal data interviewing form, the pregnancy and delivery data records, the Iowa Infant Feeding Attitude Scale, the Breastfeeding Self-Efficacy Scale-Short Form, the Nurse Support Questionnaire and the Baby-Feeding Records. Percentage, mean, standard deviation, median, and logistic regression were used in data analysis.
Main findings: The findings revealed that maternal age [Exp (B) = 1.102, 95%CI = 1.009-1.203], nurse support [Exp (B) = 1.089, 95%CI = 1.021-1.161] and first feeding time [Exp (B) = 0.890, 95%CI = 0.821-0.965] could explain 36.5% (R2 = 0.365, p < 0.05) of the variance in successful breastfeeding at discharge in mothers with cesarean section.
Conclusion and recommendations: The results suggest that nurses should protect, promote and support breastfeeding in mothers with cesarean section by providing assistance and support with early breastfeeding especially in young mothers.
ปัจจัยส่วนบุคคล เวลาที่เริ่มให้นมแม่ และการสนับสนุนจากพยาบาล ในการทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่าย ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด
ศศิธารา น่วมภา, นิตยา สินสุกใส, วรรณา พาหุวัฒนกร
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของอายุ ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทัศนคติ การรับรู้สมรรถนะในตนเองเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เวลาที่เริ่มให้นมแม่ และการสนับสนุนจากพยาบาล ต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่ายในมารดาหลังผ่าตัดคลอด
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดที่คลอดด้วยวิธีการผ่าตัด ที่หอผู้ป่วยหลังคลอดสามัญ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 110 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอด แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะในตนเองเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากพยาบาล และแบบบันทึกการให้อาหารทารก วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยโลจิสติค
ผลการวิจัย: ปัจจัยที่สามารถทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่ายในมารดาหลังผ่าตัดคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) คือ อายุมารดา [Exp (B) = 1.102, 95%CI = 1.009-1.203] การสนับสนุนจากพยาบาล [Exp (B) = 1.089, 95%CI = 1.021-1.161] และเวลาที่เริ่มให้นมแม่ [Exp (B) = 0.890, 95%CI = 0.821-0.965] สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่ายได้ร้อยละ 36.5 (R2 = .365, p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรให้การปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด โดยการให้ความช่วยเหลือและกำลังใจ นำบุตรมาดูดนมมารดาโดยเร็ว โดยเฉพาะในมารดาที่มีอายุน้อย เพื่อให้มารดาสามารถประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
คำสำคัญ: ทัศนคติ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว เวลาที่เริ่มให้นมแม่ การสนับสนุนจากพยาบาล การรับรู้สมรรถนะของตนเอง
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.