Factors Predicting Adaptive Behaviors in Siblings of Children with Cancer

Main Article Content

Wipawee Ponkaew
Wanida Sanasuttipun

Abstract

Purpose: This study aimed to examine the predictors of adaptive behaviors in sibling of children with cancer, including cancer severity, gender, birth order, social support and parental stress.

Design: Correlational predictive design.

Method: The study sample consisted of 92 pairs of children and their parents. These children aged 9-18 years old had siblings with cancer admitted at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. The subjects were selected by convenience sampling. Data were collected using 5 questionnaires asking about demographic data, perception of cancer severity, social support, parental stress, and adaptive behaviors of the siblings. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis.

Main findings: Social support was the only factor found to be significantly correlated with siblings’ adaptive behaviors (r = .21, p < .05). Research findings revealed that cancer severity (β = - .16, p = .130), gender (β = .06, p = .532), birth order (β = - .09, p = .388), social support (β = .20, p = .058) and parental stress (β = - .06, p = .536) could not predict adaptive behaviors in siblings of children with cancer.

Conclusion and recommendations: Nurses should develop a nursing intervention for siblings of children with cancer. The intervention should include the provision of information, instrumental, and emotional support as well as the enhancement of siblings’ positive self-appraisal.

 

 

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการปรับตัวของพี่น้องเด็กป่วยโรคมะเร็ง

วิภาวี พลแก้ว, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการปรับตัวของพี่น้องเด็กป่วยโรคมะเร็ง ได้แก่ ความรุนแรงของโรคมะเร็ง เพศ ลำดับการเกิด การสนับสนุนทางสังคม และความเครียดของบิดามารดา

รูปแบบการวิจัย: ศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กที่มีอายุระหว่าง 9-18 ปีที่มีพี่หรือน้องป่วยเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และบิดามารดาจำนวน 92 คู่ การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของพี่น้องเด็กป่วย แบบสอบถามความเครียดของบิดามารดาเด็กป่วย และแบบสอบถามพฤติกรรมการปรับตัวของพี่น้องเด็กป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการ
วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย: การสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของพี่น้องเด็กป่วยโรคมะเร็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .21, p < .05) และพบว่า ความรุนแรงของโรคมะเร็ง (β = - .16, p = .130) เพศ (β = .06, p = .532) ลำดับการเกิด (β = - .09, p = .388) การสนับสนุนทางสังคม (β = .20, p = .058) และความเครียดของบิดามารดา (β = - .06, p = .536) ไม่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการปรับตัวของพี่น้องเด็กป่วยโรคมะเร็งได้

สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรพัฒนารูปแบบกิจกรรมการพยาบาลในการดูแลพี่น้องเด็กป่วยโรคมะเร็ง โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนช่วยเหลือด้านต่างๆ ได้แก่ การให้ข้อมูล การช่วยให้พี่น้องประเมินคุณค่าตนเองทางบวก การช่วยเหลือด้านทรัพยากร และการสนับสนุนด้านอารมณ์ เพื่อให้พี่น้องเด็กป่วยมีการปรับตัวที่ดีขึ้น


คำสำคัญ: พฤติกรรมการปรับตัว เด็กป่วยโรคมะเร็ง พี่น้อง การสนับสนุนทางสังคม

Article Details

How to Cite
Ponkaew, W., & Sanasuttipun, W. (2014). Factors Predicting Adaptive Behaviors in Siblings of Children with Cancer. Nursing Science Journal of Thailand, 31(2), 71–81. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/26489
Section
Research Papers
Author Biography

Wanida Sanasuttipun, Mahidol University

Faculty of Nursing